ความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรของโครงการยุวเกษตรกรในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

Main Article Content

สัญจนา สิงห์ใจ
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร และศึกษาความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรของโครงการยุวเกษตรกรในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) คณะผู้บริหาร จำนวน 5 คน 2) ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมฯ จำนวน 6 คน 3) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 100 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่าการดำเนินกิจกรรมฯ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน โดยภาพรวมด้านบริบท กิจกรรมฯ มีความสอดคล้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (gif.latex?\bar{X}= 4.60) และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ (gif.latex?\bar{X}= 4.33) ด้านปัจจัย พบว่า มีบุคลากรที่เพียงพอ (gif.latex?\bar{X}= 5.00) และโรงเรียนมีการสนับสนุนเครื่องมือ งบประมาณ (gif.latex?\bar{X}= 3.80) ด้านกระบวนการ ครูให้การดูแล ช่วยเหลือ อยู่เสมอ (gif.latex?\bar{X}= 4.80) และระยะเวลาที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม (gif.latex?\bar{X}= 4.50) ด้านผลผลิต นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินกิจกรรม มีความรับผิดชอบ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ (gif.latex?\bar{X}= 3.82) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณภัทร ก๋านนท์. 2559. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน กรณีศึกษากลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านบุ่งคล้า ตำบล บุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters (17 กันยายน 2559).

ทัศนีย์ บุญมาภิ สมบูรณ์ ตันยะ กรองทิพย์ นาควิเชตร และ ศรุดา ชัยสุวรรณ. 2561. รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 12(1): 73-86.

นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์ รังสรรค์ สิงหเลิศ และ สมสงวน ปัสสาโก. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 4(2): 103-112.

บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล. 2554. นวัตกรรมการส่งเสริมเพื่อการขยายผลเกษตรยั่งยืน. วารสารเกษตร 27(3): 293-303.

บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล ถาวร อ่อนประไพ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2557. ศักยภาพของชุมชนตำบลแม่ทาในการจัดการทรัพยากรเกษตรที่ระดับลุ่มน้ำ. แก่นเกษตร 42(ฉบับพิเศษ 2): 288-295.

ปุณยวีร์ เกิดศรี สายสกุล ฟองมูล พหล ศักดิ์คทัศน์ และนเรศ รังควัต. 2559. บทบาทของสมาชิกกลุ่ม ยุวเกษตรกรต่อการส่งเสริมการเกษตรในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(1): 109- 121.

ผ่องพรรณ ชัยสาร. 2541.ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ ของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : http://cmuir.cmu.ac.th/handle/6653943832/18883 (6 สิงหาคม 2561).

ยศ บริสุทธิ์ และ ชนินทร์ แก้วคะตา. 2558. เงื่อนไขฐานรากในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร. วารสารเกษตร 31(2): 215-224.

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่. 2557. ประวัติโรงเรียน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.sscm.ac.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=313&Itemid=303#page (10 กันยายน 2559).

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม สุดารัตน์ อุทธารัตน์ ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์ และ อุบลรัตน์ หยาใส่. 2559. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 31(1): 29-38.

ศิริมาศ แสงเมือง และ บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล. 2555. การเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตข้าว: ความเข้าใจการปรับตัวและการยอมรับของเกษตรกรต่อขั้นตอนการผลิตข้าวที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในที่ราบลุ่มเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับงานประชุมวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 8: 208-214.

Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 16(3): 297-334.

Likert, R. 1932. A Technique for the Measurement of Attitudes. New York University, New York. 55 p.

Stufflebeam, D.L. and A.J. Shinkfield. 2007. Evaluation Theory, Models, and Applications. Jossey-Bass, San Francisco. 768 p.

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. Harper and Row, New York. 886 p.