การวิเคราะห์ทางการเงินของการเลี้ยงกุ้งขาว (<I>Litopenaeus vannamei</I>) ในบ่อดิน: กรณีศึกษาคลองวาฬโมเดล

Main Article Content

วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม
วาสนา อากรรัตน์
ประภาพร ดีมาก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปด้านการผลิต และวิเคราะห์ทางการเงินของการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) โดยใช้ข้อมูลจากกิจกรรมการเลี้ยงกุ้งในบ่อดินขนาด 1 ไร่ ของสถานีวิจัยประมงคลองวาฬ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงเดือนเมษายน 2557 - พฤษภาคม 2559 โดยแบ่งการเลี้ยงออกเป็น 2 รูปแบบ คือ คลองวาฬโมเดล 1 และคลองวาฬโมเดล 2 รูปแบบการเลี้ยงละ 8 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักตัวกุ้ง อัตรารอดตาย อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG) อัตราเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก (FCR) และผลผลิตของการเลี้ยงกุ้งทั้งสองรูปแบบไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน พบว่า การเลี้ยงกุ้งขาวตามรูปแบบคลองวาฬโมเดล 1 และ 2 มีความเหมาะสมในการลงทุน เนื่องจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีค่าเป็นบวกเท่ากับ 839,086.2 และ 539,645.6 บาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) มีค่าเท่ากับ 1.6 และ 1.5 และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) มีค่าเท่ากับร้อยละ 79.8 และ 67.1 ตามลำดับ แต่การเลี้ยงกุ้งตามรูปแบบคลองวาฬโมเดล 2 ยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้านต้นทุน และผลประโยชน์ของการลงทุน โดยเฉพาะในกรณีที่สมมุติให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 20% กับผลประโยชน์ลดลง 20% ดังนั้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเลี้ยงกุ้งขาวตามรูปแบบคลองวาฬโมเดล 1 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยสำหรับนำไปใช้ในการเลี้ยงต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. 2559. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2557. เอกสารฉบับที่ 11/2559. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมประมง, กรุงเทพฯ.

แก้วตา ลิ้มเฮง จันทร์จิรา อาภานันท์ และ อาภรณ์ อรุณรัตน์. 2557. การศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในความหนาแน่นที่ต่างกันในน้ำความเค็มต่ำ. แก่นเกษตร 42 (ฉบับพิเศษ 1): 804-809.

จิราพร เกสรจันทร์ สมพิศ แย้มเกษม วิศณุ บุญญาวิววัฒน์ และ ธิดาพร ฉวีภักดิ์. 2558. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของโรคตายด่วน (Acute Hepatopancretic Necrosis Disease) ในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei, Boone 1931) ในจังหวัดระยองและจันทบุรี. วารสารการประมง 68(5): 466-473.

จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ เสนาะ กลิ่นงาม วราห์ เทพาหุดี และ สมสุข แขมคำ. 2558. การจัดการความรู้ในการผลิตกุ้งขาวแวนนาไม กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี. การเกษตรราชภัฏ 14(1): 22-30.

ชลอ ลิ้มสุวรรณ และ นิติ ขูเชิด. 2560. แนวทางการเลี้ยงกุ้งโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www2.rdi. ku.ac.th/kasetresearch52/01-celebrate/chalor/ celebrate_00.html (11 กรกฎาคม 2560).

ชลอ ลิ้มสุวรรณ และ พรเลิศ จันทร์รัชชกูล. 2547. อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย. บริษัทเมจิค พับบลิเคชัน จำกัด, กรุงเทพฯ. 206 หน้า.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. 2544. เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัฏฐินี มั่นคงวงศ์ศิริ. 2556. การศึกษาสาเหตุการเกิดโรค Early Mortality Syndrome ในกุ้งขาวแวนนาไม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 89 หน้า.

ณัฐธิดา บุญเพ็ง นิติ ชูเชิด และ วราห์ เทพาหุดี. 2560. การเปรียบเทียบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ระบบน้ำใสเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดที่ความหนาแน่นแตกต่างกัน. หน้า 678-685. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 55 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 1 สาขาพืช สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาประมง และสาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประจวบ หลำอุบล. 2543. อดีต-อนาคตกุ้งไทย. หน้า 1-66. ใน: เสวนาวิชาการเรื่อง “กุ้ง”. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เมธาวี รอตมงคลดี วัฒนะ ลีลาภัทร และ นันทพร สุทธิ. 2560 ผลของวัสดุหลบซ่อนต่ออัตราการรอดตายของกุ้งก้ามกราม. วารสารเกษตร 33(2): 257-265.

วรรธณา กรุยทอง. 2554. การศึกษาประสิทธิภาพของการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. 92 หน้า.

วัฒนา วัฒนกุล อุไรวรรณ วัฒนกุล และ สุชาติ แดงหนองหิน. 2554. เปรียบเทียบการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่แตกต่างกัน 2 วิธี. หน้า 703-706. ใน: รายงานการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ประจำปี 2554. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุทธสินี สนธิรัตน. 2561. สถานการณ์สินค้ากุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ ปี 2560 และแนวโน้มปี 2561. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https:// www.fisheries.go.th/strategy/index.php?name=news&file=readnews&id=413 (26 มิถุนายน 2561).

สุวิมล ทองพลี. 2554. การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งขาวระหว่างวิธีการเลี้ยงแบบเดี่ยวกับวิธีการเลี้ยงแบบผสมผสาน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี. 64 หน้า.

Baloi, M., R. Arantes, R. Schveitzer, C. Magnotti and L. Vinatea. 2013. Performance of Pacific white shrimp Litopenaeus vannamei raised in biofloc systems with varying levels of light exposure. Aquacultural Engineering 52: 39-44.

Leepaisomboon, T., R. Mungkung, N. Chuchird and C. Limsuwan. 2011. An analysis of Thai shrimp farms’ compliance to the GLOBALG.A.P. standard. Kasetsart University Fisheries Research Bulletin 35(1): 1-13.

Lin, C.K. 2000. Development of shrimp farming and environmental sustainability in Thailand. Aquaculture Science 48(2): 267–272.

Yuan, D., Y. Yi. A. Yakupitiyage, K. Fitzsimmons and J.S. Diana. 2010. Effects of addition of red tilapia (Oreochromis spp.) at different densities and sizes on production, water quality and nutrient recovery of intensive culture of white shrimp (Litopenaeus vannamei) in cement tanks. Aquaculture 298(3/4): 226-238.

Zarain-Herzberg, M., I. Fraga and A. Hernandez-Llamas. 2010. Advances in intensifying the cultivation of the shrimp Litopenaeus vannamei in floating cages. Aquaculture 300: 87-92.