การเพิ่มศักยภาพการยับยั้งเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูด้วยสารสกัดหยาบไคติเนสและโปรติเอสร่วมกับเชื้อรา <I>Beauveria bassiana</I>

Main Article Content

สุกานดา วิชิตพันธุ์
สุภัทรษร ทับศรี
คณิตา วิชิตพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณลักษณะเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอสที่ผลิตจากราที่มีศักยภาพในการทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (pink cassava mealybug หรือ Phenacoccus manihoti) ก่อนหน้านี้ พบว่าเอนไซม์ไคติเนสที่ผลิตจาก Aspergillus flavus ไอโซเลท L21A และ โปรติเอสที่ผลิตจาก Beauveria bassiana ไอโซเลท LARTC2 มีศักยภาพนำไปใช้ในการทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายเพลี้ยแป้งโดยเอนไซม์จะเข้าย่อยทำลายผนังลำตัวของเพลี้ยแป้งในขั้นตอนแรก จากนั้นราจะเจริญโดยใช้ของเหลวในตัวแมลงเป็นอาหารและทำลายเพลี้ยแป้งในที่สุด การศึกษาครั้งนี้ได้ทดลองนำสารละลายเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอสที่ผลิตจากราทั้งสองชนิดมาใช้ร่วมกับสารแขวนลอยสปอร์รา B. bassiana ไอโซเลท LARTC2 ที่ความเข้มข้น 1 x 107 สปอร์ต่อมิลลิตร เพื่อเพิ่มความรุนแรงในการทำลายตัวอ่อนวัยที่ 3 ของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ในระดับห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลายเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอส ร่วมกับสารแขวนลอยสปอร์รามีเปอร์เซ็นต์การตาย (percent mortality) ในวันที่ 3 เท่ากับ 65.56 ± 4.55% และมีค่า LT50 เท่ากับ 2.52 วัน ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายนี้มีค่าสูงกว่าการใช้เฉพาะสารละลายเอนไซม์หรือสารแขวนลอยสปอร์ราเพียงอย่างเดียว จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพบนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู และการเจริญของรา B. bassiana ไอโซเลท LARTC2 หลังการพ่นด้วยสารละลายเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอสร่วมกับสารแขวนลอยสปอร์ราเป็นเวลา 3 วัน พบว่าแมลงถูกทำลาย และมีเส้นใยราปกคลุมตัวเพลี้ยแป้ง ภายหลังจากการนำเพลี้ยแป้งไปบ่ม 3 วัน ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส พบว่าเส้นใยราหนาแน่นขึ้นและสปอร์ของราสีขาวแทงทะลุออกมาและปกคลุมทั่วผนังลำตัวของเพลี้ยแป้ง สรุปได้ว่าสารละลายเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอสช่วยเพิ่มความรุนแรงของราในการเข้าทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิพย์วดี อรรถธรรม. 2535. โรควิทยาของแมลง. เอกสารทางวิชาการ. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 205 หน้า.

ภัทรภา พิมพ์พันธ์. 2556. การคัดเลือกเชื้อราที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยแป้งสีชมพู (Phenacoccus manihoti) ในมันสำปะหลัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 79 หน้า.

รัชฎาวรรณ เงินกลั่น และ เบญจคุณ แสงทองพราว. 2559. ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจและการจัดการเพลี้ยแป้งมัน สำปะหลังสีชมพู Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero (Hemiptera: Pseudococcidae) ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารเกษตร 32(3): 357-368.

สถาบันอาหาร. 2558. อุตสาหกรรมมันสำปะหลังของไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://fic.nfi.or.th/ foodsectordatabank-all2_detail.php?cat= 8&type=1 (มีนาคม 2558).

El-Sinary, N.H. 2002. Influence of the entomopathogenic fungus, Beauveria bassiana (Balsamo) on the mature larvae of the potato tuber moth, Phthorimaea operculella (Zeller) under different degrees of temperature and relative humidity. Mansoura University Journal of Agricultural Sciences 27(8): 4151-4161.

Fan, Y., X. Pei, S. Guo, Y. Zhang, Z. Luo, X. Liao and Y. Pei. 2010. Increased virulence using engineered protease-chitin binding domain hybrid expressed in the entomopathogenic fungus Beauveria bassiana. Microbial Pathogenesis 49(6): 376-380.

Fang, W., J. Feng, Y. Fan, Y. Zhang, M.J. Bidochka, R.J. St. Leger and Y. Pei. 2009. Expressing a fusion potein with protease and chitinase activities increases the virulence of the insect pathogen Beauveria bassiana. Journal of Invertebrate Pathology 102(2): 155-159.

Finney, D.J. 1971. Probit analysis. 3rd ed. Cambridge University Press, Cambridge, 333 p.

Firouzbakht, H., A. Zibaee, H. Hoda and M.M. Sohani. 2015. Purification and characterization of the cuticle-degrading proteases produced by an isolate of Beauveria bassiana using the cuticle of predatory bug, Andrallus spinidens Fabricius (Hemiptera: Pentatomidae). Journal of Plant Protection Research 55(2): 179-186.

Isaka, M., P. Kittakoop, K. Kirtikara, N.L. Hywel-Jones and Y. Thebtaranonth. 2005. Bioactive substances from insect pathogenic fungi. Accounts of Chemical Research 38(10): 813-823.

Ortiz, U.A., L. Riveiro-Miranda, C. Santiago-Alvarez and E. Quesada-Moraga. 2010. Insect-toxic secreted proteins and virulence of the entomophathogenic fungus Beauveria bassiana. Journal of Invertebrate Pathology 105(3): 270-278.

Pelizza, S.A., L.A. Eliades, M.C.N. Saparrat, M.N. Cabello, A.C. Scorsetti and C.E. Lange. 2012. Screening of Argentine native fungal strains for biocontrol of the grasshopper Tropidacris collaris: relationship between fungal pathogenicity and chitinolytic enzyme activity. World Journal of Microbiology and Biotechnology 28(4): 1359-66.

Quesada-Moraga, E., A. Ruiz-Garcia and C. Santiago-Álvarez. 2006. Laboratory evaluation of entomopathogenic fungi Beauveria bassiana and Metarhizium anisopliae against puparia and adults of Ceratitis capitata (Diptera: Tephritidae). Journal of Economic Entomology 99(6): 1955-1966.

St. Leger, R.J., R.M. Cooper and A.K. Charnley. 1986a. Cuticle-degrading enzymes of entomopathogenic fungi: cuticle degradation in vitro by enzymes from entomopathogens. Journal of Invertebrate Pathology 47(2): 167-177.

St. Leger, R.J., A.K. Charnley and R.M. Cooper. 1986b. Cuticle-degrading enzymes of entomopathogenic fungi: mechanisms of interaction between pathogen enzymes and insect cuticle. Journal of Invertebrate Pathology 47(3): 295-302.

Tabsri, S., K. Vichitphan and S. Vichitphan. 2016. Characterization of chitinase and protease production from entomopathogenic fungi against pink cassava mealybug. pp. 381-391. In: Proceeding of The National and International Graduate Research Conference 2016 (NIGRC KKU-2016). Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.

Zhang, L., Y. Liu, J. Yao, B. Wang, B. Huang, Z. Li, M. Fan and J. Sun. 2011. Evaluation of Beauveria bassiana (Hyphomycetes) isolates as potential agents for control of Dendroctonus valens. Insect Science 18(2): 209-216.