ประสิทธิภาพสารพาบางชนิดในการเก็บรักษาเชื้อรา <I>Metarhizium anisopliae</I> MRT-PCH 048 เพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

Main Article Content

นวลศิริ สีบุญมี
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
ปภพ สินชยกุล
จิราพร กุลสาริน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารพา 5 ชนิด คือ ดินอินทรียวัตถุ ทราย ดินสอพอง ดินขาวลพบุรี และดินขาวลำปาง ในการเก็บรักษาโคนิเดียของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae MRT-PCH 048  ในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål)) โดยใช้เชื้อราเขียว M. anisopliae MRT-PCH 048 ความเข้มข้น 108 โคนิเดีย/มิลลิลิตรจำนวน 10 มิลลิลิตร ผสมกับสารพา 300 กรัม เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 6 เดือน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 3 ซ้ำ ตรวจสอบความมีชีวิตของเชื้อราในแต่ละสารพาทุกเดือน และตรวจสอบประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เมื่อเก็บรักษาครบ 6 เดือน พบว่าสารพาดินอินทรียวัตถุ และทราย มีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาเชื้อราเขียวเป็นระยะเวลา 6 เดือนได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม เชื้อราเขียวที่เก็บรักษาในทุกสารพายังคงประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้สูงมากถึงร้อยละ 98-100 ภายใน 5 วันหลังสัมผัสเชื้อ และทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตาย 50% (LT50) ภายในระยะเวลา 2.03-2.57 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา จันทร์ไพแสง ทิพย์วดี อรรถธรรม และ วาลุลี โรจนวงศ์. 2529. การสำรวจโรคเชื้อราของเพลี้ยจักจั่นบางชนิดที่เป็นศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจ. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นริศ ท้าวจันทร์ และ อนุชิต ชินาจริยวงศ์. 2551. ประสิทธิภาพการคบคุมของเชื้อรา Metarhizium anisopliae ในแมลงวันผลไม้ (Diptera: Tephritidae). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39(3): 21-25.

นาวิน สุขเลิศ จิราพร กุลสาริน ไสว บรูณพานิชพันธุ์ และ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2559. ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(2): 171-180.

เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร ธวัช ปฏิรูปานุสร และ ภมร ปัตตาวะตัง. 2542. ประสิทธิภาพของเชื้อราบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียว. งานวิจัยอารักขาพืช ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก, พิษณุโลก.

ภัทรดนัย ชัยสวัสดิ์ จิราพร กุลสาริน ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และ สิริญา คัมภิโร. 2557. ประสิทธิภาพของเชื้อรา Nomuraea และ Metarhizium สาเหตุโรคแมลง ในการควบคุมหนอนกระทู้ผักของดอกดาวเรือง. วารสารเกษตร 30(1): 11-19.

วิวัฒน์ เสือสะอาด พิมพรรณ สมมาตย์ ศิติภา นักขัตระ วิมลมาศ โอสถเสน และ อาภรณ์ ปั้นทองคำ. 2548. การเพิ่มปริมาณเชื้อรา Metarhizium anisopliae และการนำไปใช้ควบคุมหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย Dorysthenes buqueti Guerin (Coleoptera: Cerambycidae) ในสภาพไร่. หน้า 1-13. ใน: รายงานการประชุมวิชาการประจำปี 2548. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

วิวัฒน์ เสือสะอาด พิมพรรณ สมมาตย์ อาภรณ์ ปั้นทองคำ ปวีณา บูชาเทียน และ ดอกกล้วยไม้ หอมระหัด. 2551. การใช้เชื้อรา Metarhizium anisopliae (Metchnikoff) Sorokin เพื่อควบคุมหนอนด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นอ้อย Dorysthenes buqueti (Guerin) (Coleoptera: Cerambycidae). หน้า 1. ใน: รวมบทคัดย่อผลงานวิจัย การประชุมวิชาการประจำปี 2551. ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

สมบัติ รุจาคม ภมร ปัตตาวะตัง นลินี เจียงวรรธนะ และ เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร. 2541. การควบคุมแมลงสิงโดยเชื้อราขาว Beauveria bassiana และเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae. หน้า 198-209. ใน: รายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการพัฒนาข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 9. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ วัชรี สมสุข และ สุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต. 2549. การศึกษาสารพา (carriers) ที่เหมาะสมในการใช้ร่วมกับแป้ง. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

อนุเทพ ภาสุระ. 2536. การผลิตมวลชีวภาพเชื้อรา Trichoderma harzianum โดยกระบวนการหมักอาหารเหลวเพื่อใช้ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางชีววิธี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อารยา บุญศักดิ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และ จิราพร กุลสาริน. 2558. การคัดเลือกเชื้อรา Metarhizium anisopliae (Metschnikoff) Sorokin ที่มีศักยภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว. วารสารเกษตร 31(3): 291-299.

Ali, M.I.E. 2014. Investigation of entomopathogenic fungi (Beauveria bassiana and Metarhizium anisopliae) for control of Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae), and development of formulation. Ph.D. Dissertation. Indian Agricultural Research Institute, New Delhi.

Bridge, P.D., C. Prior, J. Sagbohan, C.J. Lomer, M. Carey and A. Buddie. 1997. Molecular characterization of isolates of Metarhizium from locusts and grasshoppers. Biodiversity and Conservation 6(2): 177-189.

Bukhari, T., W. Takken and C.J.M. Koenraadt. 2011. Development of Metarhizium anisopliae and Beauveria bassiana formulations for control of malaria mosquito larvae. Parasites & Vectors 4: 23, doi: 10.1186/1756-3305-4-23.

Daoust, R.A., M.G. Ward and D.W. Roberts. 1983. Effect of formulation on the viability of Metarhizium anisopliae conidia. Journal of Invertebrate Pathology 41(2): 151-160.

Inglis, P.W., B.P. Magalhaes and M.C. Valadares-Inglis. 1999. Genetic variability in Metarhizium flavoviride revealed by telomeric fingerprinting. FEMS Microbiology Letters 179(1): 49-52.

Iskandarov, U.S., A.G. Guzalova and K.D. Davranov. 2006. Effects of nutrient medium composition and temperature on the germination of conidia and the entomopathogenic activity of the fungi Beauveria bassiana and Metarhizium anisopliae. Applieid Biochemistry and Microbiology 42(1): 72-76.

Jackson, M.A., C.A. Dunlap and S.T. Jaronski. 2010. Ecological considerations in producing and formulating fungal entomopathogens for use in insect biocontrol. BioControl 55(1): 129-145.

Kershaw, M.J., E.R. Moorhouse, R. Bateman, S.E. Reynolds and A.K. Charnley.1999. The role of destruxins in the pathogenicity of Metarhizium anisopliae for three species of insect. Journal of Invertebrate Pathology 74(3): 213-223.

Milner, R.J., J.A. Staples and G.G. Lutton. 1998. The selection of an isolate of the hyphomycete fungus, Metarhizium anisopliae, for control of termites in Australia. Biological Control 11: 240-247.

Onofre, S.B., C.M. Miniuk, N.M. De Barros and J.L. Azevedo. 2001. Growth and sporulation of Metarhizium flavoviride var. flavoviride on culture media and lighting regimes. Scientia Agricola 58(3): 613-616.

Pham, T.T., T.B. Nguyen, T. Dong and T.T. Tran. 1994. Effect of Beauveria bassiana Vuill. and Metarhizium anisopliae Sorok. on brown planthopper Nilaparvata lugens (Stal) in Vietnam. International Rice Research Newsletter 19(3): 29.

Post, W.M. and L.K. Mann. 1990. Changes in soil organic carbon and nitrogen as a result of cultivation. pp. 401-406. In: A. F. Bowman (ed.). Soils and the Greenhouse Effect. John Wiley & Sons, New York.

Santa, H.S.D., O.R.D. Santa, D. Brand, L.P. de Souza Vandenberghe and C.R. Soccol. 2005. Spore production of Beauveria bassiana from agro-industrial residues. Brazilian Archives of Biology and Technology 48: 51-60.

Shi, W.B. and M.G. Feng. 2004. Lethal effect of Beauveria bassiana, Metarhizium anisopliae, and Paecilomyces fumosoroseus on the eggs of Tetranychus cinnabarinus (Acari: Tetranychidae) with a description of a mite egg bioassay system. Biological Control 30: 165-173.

Tanada, Y. and H.K. Kaya. 1993. Insect Pathology. Academic Press, New York.

Tulloch, M. 1976. The genus Metarhizium. Transactions of the British Mycological Society 66(3): 407-411.

Ying, S.H. and M.G. Feng. 2006. Medium components and culture conditions affect the thermotolerance of aerial conidia of fungal biocontrol agent Beauveria bassiana. Letters in Applied Microbiology 43(3): 331-335.

Zimmermann, G. 1993. The entomopathogenic fungus Metarhizium anisopliae and its potential as a biological agent. Pest Management Science 37(4): 375-379.