ผลของการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศต่อคุณภาพของผักกาดฮ่องเต้อินทรีย์ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง

Main Article Content

เพชรดา อยู่สุข
ศิวาพร ธรรมดี
พิชญา บุญประสม พูลลาภ
ดนัย บุณยเกียรติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผักกาดฮ่องเต้อินทรีย์ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์-มีนาคม) โดยเก็บเกี่ยวผักกาดฮ่องเต้จากแปลงเกษตรกรเวลา 06.00-07.30 น. และขนส่งถึงศูนย์ผลิตผลโครงการหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เวลาประมาณ 09.00 น. ผักกาดฮ่องเต้ถูกนำมาคัด ตัดแต่ง และบรรจุใส่ถุงพลาสติกโพลีเอทิลีน เปรียบเทียบคุณภาพของผลิตผล 2 กรรมวิธี โดยกรรมวิธีที่ 1 นำผลิตผลไปลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศ โดยกำหนดให้ผลิตผลอยู่ภายใต้การรักษาระดับความดันที่ 6 มิลลิบาร์เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นนำผลิตผลไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส สำหรับผลิตผลในกรรมวิธีที่ 2 นำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส ทันทีหลังการเก็บเกี่ยว (ชุดควบคุม) ผลการทดลองพบว่า หลังจากเก็บรักษาผักกาดฮ่องเต้ไว้ 3 วัน การลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศช่วยลดอัตราการหายใจของผักกาดฮ่องเต้ที่ผ่านการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศมีอัตราการหายใจต่ำกว่ากรรมวิธีที่ไม่ผ่านการลดอุณหภูมิประมาณสองเท่า นอกจากนี้การลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศช่วยยืดอายุการเก็บรักษาจาก 3 วัน เป็น 6 วัน และไม่มีผลต่อการสูญเสียน้ำหนัก วิตามินซี กลูโคซิโนเลต และการเปลี่ยนแปลงสีของใบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2549. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.

ฐิติพงศ์ ปัญญาคำ ดนัย บุณยเกียรติ และ พิชญา บุญประสม พูลลาภ. 2554. กระบวนการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศของผักกาดหวาน (Lactuca sativa var. longefolla). แก่นเกษตร 39: 359-368.

ณัฐพล กามล ดนัย บุณยเกียรติ และ พิชญา บุญประสม พูลลาภ. 2556. ผลของการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดขาวปลี. แก่นเกษตร 41(3): 247-256.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2558. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักบนพื้นที่สูง. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่. 153 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ พิชญา บุญประสม ชัยพิชิต เชื้อเมืองพาน และ นพพล จันทร์หอม. 2551. การศึกษาคุณภาพของพืชผักและสมุนไพรหลังการลดอุณหภูมิด้วยระบบสุญญากาศ. รายงานฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), เชียงใหม่. 155 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ พิชญา บุญประสม ชัยพิชิต เชื้อเมืองพาน และ นพพล จันทร์หอม. 2552. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศเพื่อการส่งออกพืชผักและสมุนไพรของโครงการหลวง. รายงานฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), เชียงใหม่. 245 หน้า.

นาวิน สุขเลิศ จิราพร กุลสาริน ไสว บรูณพานิชพันธุ์ และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2559. ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(2): 171-180.

พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ สุรชัย กังวล. 2559. การใช้วิธีวิเคราะห์การจัดกลุ่มหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(2): 201-207.

วีนิล ชินนาพันธ์ ดนัย บุณยเกียรติ และ พิชญา บุญประสม. 2551. กระบวนการลดอุณหภูมิผักกาดฮ่องเต้โดยใช้ระบบสุญญากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39(3) (พิเศษ): 540-543.

Alibas, I. and N. Koksal. 2015. Forced-air, vacuum, and hydro precooling of cauliflower (Brassica oleracea L. var. botrytis cv. Freemont): Part II. Determination of quality parameters during storage. Food Science and Technology 35(1): 45-50.

Asante, D.B., E. Effah-Yeboah, P. Barnes, H.A. Abban, E.O. Ameyaw, J.N. Boampong, E.G. Ofori and J.B. Dadzie. 2016. Antidiabetic effect of young and old ethanolic leaf extracts of Vernonia amygdalina: a comparative study. Journal of Diabetes Research 2016: article ID 8252741.

Brosnan, T. and D.W. Sun. 2001. Precooling techniques and applications for horticultural products: a review. International Journal of Refrigeration 24: 154-170.

Chen, X., Z. Zhu, J. Gerendás and N. Zimmermann. 2008. Glucosinolates in Chinese Brassica campestris vegetables: Chinese cabbage, purple cai-tai, choysum, pakchoi, and turnip. HortScience 43(2): 571-574.

Ding, T., F. Liu, J.G. Ling, M.L. Kang, J.F. Yu, X.Q. Ye and D.H. Liu. 2016. Comparison of different cooling methods for extending shelf life of postharvest broccoli. International Journal of Agricultural and Biological Engineering 9(6): 178-185.

Dixon, G.R. 2007. Vegetable Brassicas and Related Crucifers. CABI, Wallingford. 327 p.

Lee, S.K. and A.A. Kader. 2000. Preharvest and postharvest factors influencing vitamin C content of horticultural crops. Postharvest Biology and Technology 20: 207-220.

Mathiventhan, U. and S. Ramiah. 2015. Vitamin C content of commonly eaten leafy vegetables in fresh and under different storage conditions. Tropical Plant Research 2(3): 240-245.

Mithen, R.F., M. Dekker, R. Verkerk, S. Rabot and I.T. Johnson. 2000. The nutritional significance, biosynthesis and bioavailability of glucosinolates in human foods. Journal of the Science of Food and Agriculture 80: 967-984.

Poonlarp, P.B. and D. Boonyakiat. 2015. Application of vacuum cooling technology and active packaging to improve the quality of Chinese kale. Chiang Mai University Journal of Natural Sciences 14(2): 143-151.

Poonlarp, P.B., D. Boonyakiat and K. Pilakunta. 2012. Effect of vacuum cooling on shelf life of organic chayote shoot (Sechium edule Sm.). Journal of Agricultural Science and Technology A 2: 220-227.

Ranganna, S. 1986. Handbook of Analysis and Quality Control for Fruit and Vegetable Products. Tata McGraw-Hill Publishing Company Inc., New Delhi. 1,112 p.

Sun, D.W. and L. Zheng. 2006. Vacuum cooling technology for the agri-food industry: past, present and future. Journal of Food Engineering 77: 203-214.

USDA. 2016. Basic Report: 11116, Cabbage, Chinese (pak-choi), raw. (Online). Available: https://ndb.nal.usda.gov/ndb/foods/show/2894?fgcd (March 13, 2017).

Wang, L. and D.W. Sun. 2001. Rapid cooling of porous and moisture foods by using vacuum cooling technology. Trends in Food Science & Technology 12: 174-184.

Yang, J., Z. Zhu, Z. Wang and B. Zhu. 2010. Effects of storage temperature on the contents of carotenoids and glucosinolates in pakchoi (Brassica rapa L. ssp. chinensis var. communis). Journal of Food Biochemistry 34: 1186-1204.

Zheng, L.Y. and D.W. Sun. 2005. Vacuum cooling of foods. pp. 579-602. In: D.W. Sun (ed.). Emerging Technologies for Food Processing. Academic Press, London.