ชีวภัณฑ์แอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์แบบกระดาษเพื่อควบคุมโรคถอดฝักดาบ ของข้าวไรซ์เบอร์รีในระยะกล้า

Main Article Content

ชวลิต ตนะทิพย์
เกวลิน คุณาศักดากุล

บทคัดย่อ

จากการคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์จำนวน 45 ไอโซเลทที่แยกได้จากพืชสมุนไพรและข้าว ต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Fusarium moniliforme สาเหตุโรคถอดฝักดาบของข้าวไรซ์เบอร์รี พบว่า สามารถคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ได้ 3 ไอโซเลท คือ  PRE5, CINv1 และ CEN26 ที่สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 84.80, 82.66 และ 81.85 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และในการเก็บสปอร์ที่สร้างบน aerial mycelium ของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่คัดเลือกได้โดยเพิ่มปริมาณบนอาหารสังเคราะห์ IMA-2 และทดสอบวางกระดาษกรองชนิดต่าง ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตรบนผิวหน้าของอาหารเพื่อรองรับ aerial mycelium พบว่า สามารถเก็บสปอร์บนกระดาษชนิด germination test paper  ได้ดีที่สุดเฉลี่ยจากทั้ง 3 ไอโซเลท เท่ากับ 4.13 x 109 สปอร์ต่อแผ่น จากนั้นนำแผ่นกระดาษที่รองรับสปอร์ไปทำให้แห้งเพื่อใช้เป็นชีวภัณฑ์และจากการทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคถอดฝักดาบในระยะกล้า โดยใช้แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวในสปอร์แขวนลอยของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่คัดเลือกได้ใน อัตราการใช้ 1 แผ่นต่อน้ำ 1 ลิตร ก่อนนำไปเพาะปลูก ผลการทดสอบพบว่า ไอโซเลท CINv1 สามารถยับยั้งการเกิดโรคและทำให้ต้นกล้าข้าวมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุดในทุกชุดการทดสอบ สอดคล้องกับผลแยกเชื้อกลับเพื่อตรวจสอบความสามารถในการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ในต้นกล้าข้าวหลังงอก 7 วัน ซึ่งพบว่า ไอโซเลท CINv1 มีเปอร์เซ็นต์การแยกเชื้อกลับในส่วนรากของต้นกล้าข้าวมากที่สุด เท่ากับ 96.15 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณปภพ แก้วกันทา และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2560. ศักยภาพการเป็นปฏิปักษ์ของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่แยกได้จากข้าวในการควบคุมโรคไหม้ของต้นกล้าข้าว. วารสารเกษตร 33(2): 203-213.

วันเชิญ โพธาเจริญ ไพพรรณ บุตกะ บัณฑิต ฝั่งสินธุ์ ขวัญจิต ควรดี และ ลาวัลย์ ชตานนท์. 2540. การใช้เทคนิคอย่างง่ายในการเก็บรักษาจุลินทรีย์. หน้า 228-235. ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 35. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สายชล โนชัย และ สมบัติ ศรีชูวงศ์. 2550. ประสิทธิภาพของ เชื้อราปฏิปักษ์ที่แยกได้จากเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในการควบคุมโรคถอดฝักดาบในต้นกล้าข้าว. วารสารเกษตร 23: 59-66.

อภิรัชต์ สมฤทธิ์ ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี ธารทิพย์ ภาสบุตร และ สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ. 2553. สำรวจ รวบรวม และจำแนกรา Fusarium สาเหตุโรคพืช. รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553. กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 20 หน้า.

อรอุมา เรืองวงษ์ และ เบญจวรรณ ใจจันทรา. 2560. การใช้แอคติโนมัยซีทจากดินเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศ. วารสารเกษตร 33(1): 49-59.

อาภาพร โพธิยอด และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2557. การชักนำให้เกิดความต้านทานโรครากเน่าไฟทอปธอราในสตรอว์เบอร์รีที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์. วารสารเกษตร 30(3): 213-222.

Chung, C.L., K.J. Huang, S.Y. Chen, M.H. Lia, Y.C. Chen and Y. F. Kuo. 2016. Detecting bakanae disease in rice seedling by machine vision. Computers and Electronics in Agriculture 121: 404-411.

Fong, Y.K., S. Anuar, H.P. Lim, F.Y. Tham and F.R. Sanderson. 2000. A modified filter paper technique for long-term preservation of some fungal cultures. Mycologist 14(3): 127-130.

Gupta, A.K., I.S. Solanki, B.M. Bashyal, Y. Singh and K. Srivastava. 2015. Bakanae of rice - an emerging disease in Asia. The Journal of Animal & Plant Sciences 25(6): 1499-1514.

Hossain, S.A., M. Ayub Ali, M.A. Taher Mia, M.S. Islam and Z.R. Moni. 2013. Estimation of yield loss by Fusarium moniliforme caused bakanae disease of rice. Eco-Friendly Agriculture Journal 6(03): 40-43.

Karov, I.K., S.K. Mitrev and E.D. Kostadinovska. 2009. Gibberella fujikuroi (Sawada) Wollenweber, the new parasitical fungus on rice in the Republic of Macedonia. Proceedings for Natural Sciences, Matica Srpska Novi Sad 116: 175-182.

Kizuka, M., R. Enokita, K. Takahashi, Y. Okamoto, T. Otsuka, Y. Shigematu, Y. Inoue and T. Okazaki. 1998. Studies on actinomycetes isolated from plant leaves. Actinomycetologica 12: 89-91.

Kulkarni, G.A. and R.R. Chitte. 2015. Preservation of thermophilic bacterial spores using filter paper disc techniques. Journal of Bioprocessing & Biotechniques 5: 1-4.

Marja, L.L. 2000. How Mycostop® acts in the control of fungal plant diseases. (Online). Available: http://www.shkagro.com/otros/efecto_fungicida.pdf (April 1, 2016).

Ou, S.H. 1985. Rice Diseases. 2nd ed. Commonwealth Mycological Institute, Kew, Surrey. 380 p.

Phuakjaiphaeo, C. and K. Kunasakdakul. 2015. Isolation and screening for inhibitory activity on Alternaria brassicicola of endophytic actinomycetes from Centella asiatica (L.) Urban. Journal of Agricultural Technology 11(4): 903-912.

Shimizu, M., N. Fujita, Y. Nakagawa, T. Nishimura, T. Furumai, Y. Igarashi, H. Onaka, R. Yoshida and H. Kunoh. 2001. Disease resistance of tissue-cultured seedlings of rhododendron after treatment with Streptomyces sp. R-5. Journal of General Plant Pathology 67: 325–332.

Sunder, S., Satyavir and K.S. Virk. 1997. Studies on correlation between bakanae incidence and yield loss in paddy. Indian Phytopathology 50(1): 99-101.

Zainudin, N.A.I.M., A.A. Razak and B. Salleh. 2008. Bakanae disease of rice in Malaysia and Indonesia: etiology of the causal agent based on morphological, physiological and pathogenicity characteristics. Journal of Plant Protection Research 48(4): 475-485.