ความหลากหลายของเชื้อ <I>Xanthomonas axonopodis</I> pv. <I>glycines</I> สาเหตุโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองและการพัฒนาไพร์เมอร์จำเพาะที่ใช้ในการตรวจสอบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
รวบรวมสายพันธุ์เชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. glycines สาเหตุโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองจากการเก็บตัวอย่างใบถั่วเหลืองฝักสดในพื้นที่ผลิตที่สำคัญของประเทศไทยทางภาคเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง จำนวน 171 สายพันธุ์ มาวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยการตรวจสอบลักษณะทางด้านสรีระวิทยาและโมเลกุล โดยวิเคราะห์ความสามารถในการก่อโรคบนถั่วเหลืองต่างพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ Williams 82, Spencer, PI520733 และ สจ.5 ภายใต้สภาพเรือนทดลอง และศึกษาระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์ลำดับเบส BOX ไพร์เมอร์ ภายใต้ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส พบว่าความสามารถในการก่อโรคบนถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ แบ่งความแตกต่างเชื้อทั้ง 171 สายพันธุ์ ออกเป็น 2 กลุ่ม ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์การก่อโรคบนถั่วเหลืองพันธุ์อ่อนแอ พบว่าประชากรสายพันธุ์เชื้อส่วนใหญ่มีความรุนแรงในการก่อโรคในระดับสูง เมื่อนำไปวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยไพรเมอร์ BOX พบความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของเชื้อไปในทิศทางเดียวกันและสามารถแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของสายพันธุเชื้อ X. axonopodis pv. glycines ได้เป็น 2 กลุ่มอย่างเด่นชัด โดยปรากฏแถบอนุรักษ์ขนาด 650 bp ในทุกสายพันธุ์เชื้อทดสอบ เมื่อนำมาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์พบว่าเป็นส่วนหนึ่งของยีน hrpB จึงนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาไพรเมอร์ที่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อ X. axonopodis pv. glycines ซึ่งไพรเมอร์ XagF: 5’ATGGATGCCACCGCACAG3’ และ XagR: 5’GCGTCGAACCGCACATC3’ สามารถตรวจสอบได้เฉพาะเชื้อ X. axonopodis pv. glycines โดยผลิตแถบดีเอ็นเอขนาด 788 bp ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อ X. axonopodis pv. glycines ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ถือเป็นรายงานแรกที่จำแนกชนิดของเชื้อสาเหตุโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองที่ถูกต้อง
Article Details
References
กุลชนา เกศสุวรรณ์. 2546. การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อ Xanthomonas campestris pv. campestris ด้วยเทคนิค rep-PCR. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 96 หน้า.
ขนิษฐา ขันเดช. 2532. การแพร่ระบาดของเชื้อ Xanthomonas campestris pv. glycines สาเหตุโรคใบจุดนูนที่ติดมากับเมล็ดถั่วเหลือง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 105 หน้า.
ชัยสิทธิ์ ปรีชา. 2531. การแพร่กระจาย ความรุนแรง และการประเมินความเสียหายเนื่องจากโรคใบจุดนูนของถั่วเหลืองในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 104 หน้า.
ดุสิต อธินุวัฒน์ สุดฤดี ประเทืองวงศ์ ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ และ ประชุม จุฑาวรรธนะ. 2548. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์เชื้อ Xanthomonas axonopodis pv. glycines โดยวิเคราะห์การเกิดโรคการตอบสนองอย่างเฉียบพลัน และ BOX-PCR. หน้า 50-51. ใน: รายงานการประชุมทางวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ “อารักขาพืช เพื่อคุณภาพชีวิตและ สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 7. 2-4 พฤศจิกายน 2548, เชียงใหม่.
สุดฤดี ประเทืองวงศ์ สุพัฒน์ อรรถธรรม สฤษดิพร สูประยูร และ ปรีดา สัญจนเสถียรชัย. 2523. โรคแบคทีเรียและไวรัสถั่วเหลือง. หน้า 119-135. ใน: รายงานการสัมมนาการวิจัยและพัฒนาพืชโปรตีนสูง ประจำปี 2523. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สุริยะ สะวานนท์ สาธกา อินทะเวียง ภูมพงศ์ บุญแสน และ พริมา พิริยางกูร. 2559. ความหลากหลายของจุลินทรีย์และนิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมนของกระบือปลักที่ได้รับฟางข้าวหรือหญ้าขนสด.วารสารเกษตร 33(2): 235-244.
Flor, H.H. 1942. Inheritance of pathogenicity of Melampsora lini. Phytopathology 32: 653-669.
Kim, J.G., B.K. Park, C.H. Yoo, E. Jeon, J. Oh and I. Hwang. 2003. Characterization of the Xanthomonas axonopodis pv. glycines Hrp pathogenicity island. Journal of Bacteriology 185(10): 3155-3166.
Louws, F.J., D.W. Fulbright, C.T. Stephens and F.J. de Bruijn. 1994. Specific genomic fingerprints of phytopathogenic Xanthomonas and Pseudomonas pathovars and strains generated with repetitive sequences and PCR. Applied and Environmental Microbiology 60(7): 2286-2295.
Mhedbi-Hajri, N., A. Darrasse, S. Pigné, K. Durand, S. Fouteau, V. Barbe, C. Manceau, C. Lemaire and M. A. Jacques. 2011. Sensing and adhesion are adaptive functions in the plant pathogenic xanthomonads. BMC Evolutionary Biology 11: 67. doi: 10.1186/ 1471-2148-11-67.
Park, H. J., S. W. Han, C. Oh, S. Lee, D. Ra, S.H. Lee and S. Heu. 2008. Avirulence gene diversity of Xanthomonas axonopodis pv. glycines isolated in Korea. Journal of Microbiology and Biotechnology 18(9): 1500-1509.
Sambrook, J. and D.W. Russell. 2001. Molecular Cloning: A Laboratory Manual. 3rd ed. Cold Spring Harbor Laboratory Press, New York, 999 p.
Schaad, N.W. 2001. Initial identification of common genera. pp.1-16. In: N. W. Schaad, J.B. Jones and W. Chun (eds.). Laboratory Guide for Identification of Plant Pathogenic Bacteria. 3rd ed. APS Press, St. Paul, MN.
Rohlf, F.J. 1993. NTSYS-pc Numerical Taxonomy and Multivaraition System Version 2.10. Applied Biostatic Inc., New York.
Tervor, W. 1988. Plant genetic resources and food security. Food Policy 13(2): 178-184.
Wydra, K., G. Khatri-Chhetri, A. Mavridis, R. Sikirou and K. Rudolph. 2004. A diagnostic medium for the semi-selective isolation and enumeration of Xanthomonas axonopodis pv. vignicola. European Journal of Plant Pathology 110(10): 991-1001.