ศักยภาพการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรบ้านบวกเต๋ย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นิรมล ลี
รุจ ศิริสัญลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรในหมู่บ้าน      บวกเต๋ย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับศักยภาพการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจำนวน 80 ราย ในหมู่บ้านบวกเต๋ย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลที่ให้ตอบตามความคิดเห็นตามมาตรวัด 5 ระดับของ Likert โดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิเคราะห์ถดถอยพหุ


ผลการศึกษาสภาพการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์โดยเฉลี่ย 8.74 ปี ใช้ต้นทุนในการปลูกกุหลาบเฉลี่ย 87,537.5 บาทต่อเกษตรกร 1 ราย เกษตรกรปลูกกุหลาบโดยเฉลี่ยรายละ 11,532 ต้น ในการทำสวนกุหลาบ เกษตรกรร้อยละ 57.50 ใช้น้ำจากลำห้วย เกษตรกรมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำและปานกลางเป็นจำนวนร้อยละเท่ากัน คือร้อยละ 47.50 และเกษตรกรจำนวนร้อยละ 5.00 มีศักยภาพในการผลิตอยู่ในระดับสูง จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับศักยภาพในการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร ได้แก่ การพบปะเจ้าหน้าที่ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และประสบการณ์ในการปลูกกุหลาบ เกษตรกรมีปัญหาอุปสรรคในการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ การขาดแคลนน้ำ โรคและแมลงรบกวน ต้นทุนการผลิตสูง และสารเคมีราคาแพง ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ให้มีการช่วยเหลือด้านระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการลดต้นทุนการผลิต โดยการเสนอให้ภาครัฐช่วยดูแลเรื่องราคาปุ๋ยและสารเคมีในการปลูกกุหลาบและต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยแนะนำให้ความรู้ แก้ไขปัญหาเรื่องโรคและแมลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาธิป คำวัง และ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 27(ฉบับพิเศษ): 155-162.

นภาพร ทางทิศ และ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง. วารสารเกษตร 31(1): 59-68.

จิดาภา สงครามภู และ สาธิต อดิตโต. 2558. ปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร 43(3): 525-534.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ. 2550. การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรเพื่อการผลิตไม้ผลคุณภาพส่งออกตามแนวทางปฏิบัติ “โรงเรียนเกษตรกร”. วารสารเกษตร 23(2): 173-183.

มูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2549. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอกและไม้ตัดใบ. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่. 375 หน้า.

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม สุดารัตน์ อุทธารัตน์ ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์ และ อุบลรัตน์ หยาใส่. 2559. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(1): 29-38.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. 2557. กุหลาบของไทยส่งขายที่ไหนบ้าง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.tcijthai. com/news/2014/07/watch/4496 (24 มกราคม 2560).

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ริม. 2555. รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://chiangmai.cdd.go.th/pictures/VDR55/maerim/Mae%20Rim%206.pdf (20 มกราคม 2560).

อนุพงศ์ วงศ์ไชย. 2560. การวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของการปลูกชาในจังหวัดเชียงราย. แก่นเกษตร 45(ฉบับพิเศษ 1): 567-572.

Yamane, T. 1967. Elementary Sampling Theory. Prentice Hall, Englewood Cliffs, New Jersey. 405 p.