การประเมินศักยภาพในการปรับปรุงกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ในการผลิตมะม่วงในรัฐฉานตอนใต้ประเทศพม่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะม่วง (Mangifera indica L.) นับว่าเป็นไม้ผลที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตผลไม้ในประเทศพม่า และยังมีแนวโน้มว่ามะม่วงจะสามารถเติบโตสร้างมูลค่าอีกมากในตลาดสากล อย่างไรก็ตามการพัฒนาผลผลิตทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเกษตรกรเพื่อที่จะให้ทันต่อการเติบโตของตลาดที่จะเกิดขึ้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของทั้งกระบวนการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงในรัฐฉาน ประเทศพม่าและแนวทางในการปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยใช้งานวิจัยเชิงสำรวจในเชิงปริมาณ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงจำนวน 114 ราย จาก 7 พื้นที่เพาะปลูกในรัฐฉาน ประเทศพม่า นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยกระบวนการทางสถิติ (ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าการกระจาย) รวมถึงการสัมภาษณ์เพิ่มเติมอีก 5 ครั้ง เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นในเรื่องกระบวนการผลิตและความท้าทายในการพัฒนาสำหรับผลผลิตในรัฐฉาน ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่าแม้สวนผลไม้ในรัฐฉานจะมีเทคนิคการจัดการที่ทันสมัย แต่การพัฒนาคุณภาพและปริมาณเพื่อนำออกสู่ตลาดยังต้องการ การจัดการความรู้และการฝึกอบรม เกี่ยวกับเทคนิคการจัดการก่อนการเก็บเกี่ยว เช่น การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การกำจัดโรคและแมลงเป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ควรได้รับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวในรัฐฉานยังอยู่ในระยะขั้นต้น ทำให้มีการสูญเสียผลผลิตจำนวนมาก เกษตรกรจำนวนมากมีความสนใจเรื่องการส่งออก การสร้างโรงคัดบรรจุ ระบบคัดบรรจุ และห้องคัดบรรจุที่สะอาดเป็นความต้องการอย่างเร่งด่วน และเป็นเงื่อนไขในการรักษาคุณภาพมะม่วงหลังจากเก็บเกี่ยว
Article Details
References
FAOSTAT. 2015. Crops and livestock products. (Online). Available: http://faostat3.fao.org/ browse/T/TP/E (August 24, 2015).
Fritz, W. 1995. Marketing-Management und Unternehmenserfolg: Grundlagen und Ergebnisse einer Empirischen Untersuchung. 2nd ed. Schäffer-Poeschel, Stuttgart.
Footan, C., S. Sreshthaputra, W. Intrauccomporn and T. Pankasemsuk. 2017. Factors affecting farmers’ adoption in Good Agricultural Practices for safe vegetable production in Mae Tha Nuea Royal Project Development Center, Chiang Mai Province. Journal of Agriculture 33(3): 397-404.
Ksoll, C., A.K. Myint and T.G. Lwin. 2013. Business process analysis: Export of rice and mango, and import of palm oil in Myanmar. (Online). Available: http://www.satnetasia.org/sites/ default/files/BPA_Myanmar_2013.pdf (December 9, 2015).
Mayring, P. 2000. Qualitative content analysis. Forum Qualitative Social Research 1(2): 1-10.
Mekong Institute. 2013a. Regional training program on improving food quality and safety through good agricultural and postharvest practices (GAP) in fresh produce. (Online). Available: http://www.mekonginstitute.org/ news-activities/detail/2013/06/04/regional-training-pr-3/ (March 8, 2016).
Mekong Institute. 2013b. SME Cluster Development in Myanmar: Mango and Fishery Cluster. Mekong Institute Research Working Paper Series No. 03, Mekong Institute, Khon Kaen.
MOAI. 2014. Country statement of Myanmar. Ministry of agriculture and irrigation. (Online). Available: http://www.fao.org/fileadmin/ user_upload/faoweb/docs/MM3/Statements/Myanmar.pdf (May 5, 2016).
Myat, K. 2012. Export conditions of Myanmar mango: Hindrances and opportunities in the supply chain. M.S. Thesis. University of Bologna, Bologna.
Myo, M. 2009. Farmers work to grow export-quality mangos. (Online). Available: http://www.mmtimes.com/index.php/national-news/6345-farmers-work-to-grow-export-quality-mangoes.html (November 10, 2015).
Plewa, M. 2016. Mango value chain promotion southern Shan State: Strategy & approach. Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ). Eschborn, Germany. 2 p.
Sareen, S. 2014. Training Manual on Implementing ASEANGAP in the Fruit and Vegetable Sector: Its Certification and Accreditation. FAO Regional Office for Asia and the Pacific, Bangkok. 158 p.
Schulze, K., W. Spreer, A. Keil, S. Ongprasert and J. Müller. 2013. Mango (Mangifera indica L. cv. Nam Dokmai) production in Northern Thailand - Costs and returns under extreme weather conditions and different irrigation treatments. Agricultural Water Management 126: 46-55.
Sivakumar, D., Y. Jiang and E.M. Yahia. 2011. Maintaining mango (Mangifera indica L.) fruit quality during the export chain. Food Research International 44: 1254-1263.