ผลของฤดูกาลต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดดาวอินคา

Main Article Content

กนกวรรณ ละออออง
สุภาภรณ์ ญะเมืองมอญ
สุชาดา จำรัส
จีราภรณ์ วีระดิษฐกิจ
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย

บทคัดย่อ

ดาวอินคากำลังได้รับความสนใจนำมาปลูกอย่างแพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรหลายพื้นที่ในประเทศไทย เนื่องจากผลผลิตที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่างต่อเนื่องและมีคุณค่าทางโภชนาการที่สามารถนำไปใช้ในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสำคัญหลายชนิด เช่น โรคไขมันและเบาหวาน เป็นต้น จึงเป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพเป็นอย่างมาก การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแปรปรวนของผลผลิตและคุณภาพทางโภชนาการในเมล็ดของดาวอินคาที่ให้ผลผลิตในฤดูกาลที่แตกต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบ completely randomize design (CRD)เก็บผลผลิตใน 3 ฤดู ฤดูกาลละ 10 ต้น โดยปลูกดาวอินคาทั้งหมด 30 ต้น  ระยะปลูกเท่ากับ 2x2 เมตร เก็บผลผลิตฝักของดาวอินคา 3 ฤดูกาลที่แตกต่างกันคือฤดูแล้ง ฤดูฝน และฤดูปลายฝน ผลการทดลองพบว่าในฤดูแล้งและปลายฝนให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งฝักและเมล็ดสูงที่สุด โดยมีน้ำหนักแห้งฝักและเมล็ดมากว่าในฤดูฝน 20.3% และ 20.0% ตามลำดับ ส่วนการติดเมล็ดพบว่าฤดูปลายฝนมีการติดเมล็ดมากกว่าในฤดูฝนและฤดูแล้ง 4.2% และปริมาณน้ำมันพบว่าในฤดูปลายฝนจะมีปริมาณน้ำมันมากกว่าฤดูแล้งและฤดูฝน 6.7% เช่นเดียวกับปริมาณกรดไขมันที่พบว่าในฤดูหนาวมีปริมาณกรดไขมันชนิดต่าง ๆ สูงกว่าฤดูแล้งและฤดูฝน การทดลองนี้บ่งชี้ว่าฤดูกาลผลิตมีผลต่อผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการในเมล็ดดาวอินคา ซึ่งข้อมูลจากการทดลองนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการในการปลูกดาวอินคาเพื่อให้ได้ผลผลิตและคูณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสถานที่ในการปลูกเพื่อวัดอิทธิพลของสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลและสถานที่ปลูกต่อผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการของดาวอินคาควรจะมีการศึกษาเพื่อการยืนยันผลการทดลองต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. 2557. ถั่วดาวอินคาพืชเศรษฐกิจและสร้างรายได้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thaibiz.net/th/news/

detail.php?ID=16222&sphrase_id=4694977 (10 กันยายน 2561).

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://production.doae.go.th (25 พฤษภาคม 2560).

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. 2560. สถิติภูมิอากาศเชียงใหม่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.cmmet.tmd.go.th/index1.php

(10 กันยายน 2561).

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. 2561. สถิติภูมิอากาศเชียงใหม่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.cmmet.tmd.go.th/index1.php (10 กันยายน 2561).

AOAC. 1995. Official Methods of Analysis of AOAC. Association of Official Analytical Chemists, Arlington. 1289 p.

Chirinos, R., R. Pedreschi, G. Dominguez and D. Campos. 2015. Comparison of the physico-chemical and phytochemical characteristics of the oil of two Plukenetia species. Food Chemistry 173: 1203-1206.

Garmendia, F., R. Pando and G. Ronceros. 2011. Effect of sacha inchi oil (Plukenetia volubilis L.) on the lipid profile of patients with hyperlipoproteinemia. Revista Peruana De Medicina Experimental Y Salud Publica 28(4): 628-632.

Gillespie, L.J. 2007. A revision of paleotropical Plukentia (Euphorbiaceae) including two new species from Madagascar. Systematic Botany 32(4): 780-802.

Gong, H.D., Y.J. Geng, C. Yang, D.Y. Jiao, L. Chen and Z.Q. Cai. 2018. Yield and resource use efficiency of Plukenetia volubilis plants at two distinct growth stages as affected by irrigation and fertilization. Scientific Reports 8(1): 80.

Gutiérrez, L.F., L.M. Rosada and A. Jiménez. 2011. Chemical composition of sacha inchi (Plukenetia volubilis L.) seeds and characteristics of their lipid fraction. Grasas Y Aceites 62(1): 76-83.

Jiao, D.Y., M.H. Xiang, W.G. Li and Z.Q. Cai. 2012. Dry-season irrigation and fertilisation affect the growth, reproduction, and seed traits of Plukenetia volubilis L. plants in a tropical region. The Journal of Horticultural Science and Biotechnology 87(4): 311-316.

Niu, L., J. Li, M.S. Chen and Z.F. Xu. 2014. Determination of oil contents in sacha inchi (Plukenetia volubilis) seed at different developmental stages by two methods: Soxhlet extraction and time-domain nuclear magnetic resonance. Industrial Crops and Products 56: 187-190.

Yehuda, R., R.S. Keefe, P.D. Harvey, R.A. Levengood, D.K. Gerber, J. Geni and L.J. Siever. 1995. Learning and memory in combat veterans with posttraumatic stress disorder. The American Journal of Psychiatry 152(1): 137-139