ลักษณะดินที่เกิดจากหินปูนระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ในลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะดินที่เกิดจากหินปูนในพื้นที่เกษตรกรรมและป่าธรรมชาติในลุ่มน้ำแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยขุดหลุมดินทั้งหมด 6 หลุม ในพื้นที่เกษตรกรรม 3 หลุม และพื้นที่ป่าไม้ 3 หลุม ที่มีความกว้างและลึก 1.5 x 1 m เก็บตัวอย่างดินที่ความลึก 6 ระดับ คือ 0-10, 10-20, 20-40, 40-60, 60-80 และ 80-100 cm เพื่อวิเคราะห์สมบัติของดินทางกายภาพและเคมี พบว่า ดินเกษตรมีสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงกับดินในป่า ดินชั้นไถพรวน (20 cm) มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวและดินเหนียว ปริมาณกรวดลดลงในดินเกษตรที่ใช้เพาะปลูกมานาน ปฏิกิริยาผันแปรจากเป็นกลางถึงกรดจัด อินทรียวัตถุและคาร์บอนมีค่าผันแปรจากปานกลางถึงสูง แต่มีไนโตรเจนต่ำ มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์โดยเฉลี่ยปานกลางและโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูง แคลเซียมและแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีค่าปานกลาง โดยมีความผันแปรระหว่างหลุมดินและตามความลึก ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนต่อพื้นที่ รวมทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินชั้นไถพรวนมีค่าต่ำกว่าดินป่าไม้ ซึ่งเกิดจากการสูญเสียหน้าดินจากการเซาะกร่อนโดยน้ำ แต่ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมต่อพื้นที่กลับมีค่าสูงกว่า ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ย
Article Details
References
กัญชลี เจติยานนท์ ภิญญุภา เปลี่ยนบางช้าง ศักดิ์ชัย วิทยาอารีย์กุล วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์ และ สุพรรณ-นิกา อินต๊ะนนท์. 2561. พฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรบ้านโพธิ์ประสาท ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเกษตร 34(2): 245-253.
ชูชาติ สันธทรัพย์ และ กนกวรรณ นพพรรณ. 2560. ผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอาหารสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดตาก. วารสารเกษตร 33(2): 225-234.
ฐปรัฏฐ์ สีลอยอุ่นแก้ว. 2554. การประเมินความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และศักยภาพการสะสมคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหนองเต่า อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 326 หน้า.
สุนทร คำยอง. 2558. ดินป่าไม้ ธรรมชาติของดินป่าไม้ในประเทศไทย. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 711 หน้า.
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2544. แผนแม่บทการพัฒนาเกษตรที่สูงในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด. รายงานการวิจัย. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 128 หน้า.
อำไพ พรลีแสงสุวรรณ์ สุนทร คำยอง นิวัติ อนงค์รักษ์ และ เกรียงศักดิ์ ศรียวงเงิน. 2554. สังคมพืช ลักษณะดินและการสะสมธาตุอาหารในดินป่าดิบเขาต่ำที่เหลือเป็นหย่อม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 27(3): 247-257.
Bremner, J.M. and C.S. Mulvaney. 1982. Nitrogen-total. pp. 595-624. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis. Part 2 - Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy Publisher, Madison, Wisconsin.
Fisher, R.F. and D. Binkley. 2000. Ecology and Management of Forest Soils. John Wiley and Sons, New York. 489 p.
Land Classification Division. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Department of Land Development, Bangkok. 135 p.
Lanyon, L.E. and W.R. Heald. 1982. Magnesium, calcium, strontium, and barium. pp. 247-262. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis. Part 2 - Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.
Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1982. Total carbon, organic carbon and organic matter. pp. 539-580. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis. Part 2 - Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.
Olsen, S.R. and L.E. Sommers. 1982. Phosphorus. pp. 403-430. In: A.L. Page, R.H. Miller and D.R. Keeney (eds.). Methods of Soil Analysis. Part 2 - Chemical and Microbiological Properties. 2nd ed. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin.
Pritchett, W.L. and R.F. Fisher. 1987. Properties and Management of Forest Soils. 2nd ed. John Wiley and Sons, New York. 494 p.
Seeloy-ounkaew, T. and S. Khamyong. 2015. Soil characteristics and carbon storage in forest soil of Mae Ya Noi Community Forest, Chom Thong district, Chiang Mai province. Thai Journal of Forestry 34(3): 44-55.
Soil Survey Division. 1993. Soil Survey Manual. Handbook No. 18. U.S. Government Printing Office, Washington, D.C.