การผลิตมันเทศปลอดไวรัส SPFMV และ SPCSV โดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Main Article Content

ชฎาพร ไชยลังกา
ศิริมาศ ชัยชม
เสาวลักษณ์ พิมขันท์
เกวลิน คุณาศักดากุล

บทคัดย่อ

เก็บรวบรวมพันธุ์มันเทศจากสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ SP02 (เนื้อสีม่วง) และ SP08 (เนื้อสีเหลือง) นำมาปลูกภายในโรงเรือนเป็นเวลา 90 วัน พบใบพืชแสดงอาการจุดสีเหลืองและจุดสีม่วง เมื่อตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิค PCR พบว่าเกิดจากการเข้าทำลายร่วมกันของไวรัส Sweet potato chlorotic stunt virus (SPCSV) และ Sweet potato feathery mottle virus (SPFMV) การประเมินความรุนแรงของอาการโรคดังกล่าวด้วยเกณฑ์ 5 ระดับ ที่ 0-4 (ปกติ-รุนแรงที่สุด) ในตัวอย่างใบมันเทศแต่ละสายพันธุ์ ๆ ละ 100 ใบ ไม่พบใบพืชที่ปกติ ระดับความรุนแรงที่พบมากที่สุดในสายพันธุ์ SP02 และ SP08 คือระดับ 2 เท่ากับ 48 และ 45% ตามลำดับ จากการนำต้นมันเทศในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อร่วมกับการใช้ความร้อน (37 oC เป็นเวลา 30 วัน) และไม่ใช้ความร้อน มาตัดเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.3, 0.5 และ 1 mm เพาะเลี้ยงบนอาหาร MS และตรวจสอบการปลอดไวรัสด้วยเทคนิค PCR พบว่าการตัดเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดขนาด 0.5 และ 1 mm มีการปลอดไวรัสทั้งสองชนิด 90.9-100% อย่างไรก็ตามการใช้ความร้อนและการตัดเนื้อเยื่อเจริญขนาด 0.3 mm ส่งผลให้อัตราการมีชีวิตรอดของพืชต่ำลงเหลือเพียง 37.5% ส่วนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มปริมาณมันเทศปลอดไวรัส พบว่า อาหาร MS ที่เติม IAA 0.5 mg/l และ GA3 1 mg/l สามารถเพิ่มปริมาณมันเทศได้ดีที่สุดในทั้งสองสายพันธุ์ มีจำนวนข้อเฉลี่ย 11.1 และ 13.8 ข้อต่อต้น ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Agriculture Extension. 2017. Sweet potato. (Online). Available: https://www.agriinfo. doae.go.th/year60/plant/rortor/agronomy/29.Sweet%20potato.pdf (December 1, 2018). (in Thai)
Feyissa, T. and G. Dugassa. 2011. In vitro production of virus-free sweet potato (Ipomoea batatas L.) by meristem culture and thermotherapy. SINET: Ethiopian Journal of Science 34(1): 17-28.
Kwak, H.R., M.K. Kim, J.C. Shin, Y.J. Lee, J.K. Seo, H.U. Lee, M.N. Jung, S.H. Kim and H.S. Choi. 2014. The current incidence of viral disease in Korean sweet potatoes and development of multiplex RT-PCR assays for simultaneous detection of eight sweet potato viruses. Plant Pathology Journal 30(4): 416-424.
Kokkinos, C.D. and C.A. Clark. 2006. Interactions among Sweet potato chlorotic stunt virus and different potyviruses and potyvirus strains infecting sweet potato in the United States. Plant Disease 90(10): 1347-1352.
Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bio assays with tobacco tissue cultures. Physiologia Plantarum 15: 473-497.
Wang, Q.C. and J.P.T. Valkonen. 2008. Elimination of two viruses which interact synergistically from sweetpotato by shoot tip culture and cryotherapy. Journal of Virological Methods 154: 135-145.
Wondimu, T., T. Feyissa and G. Bedada. 2012. Meristem culture of selected sweet potato (Ipomoea batatas L. Lam.) cultivars to produce virus-free planting material. Journal of Horticultural Science and Biotechnology 87(3): 255-260.
Woolfe, J.A. 1992. Sweet Potato: An Untapped Food Resource. Cambridge University Press, Cambridge. 643 p.