ความสามารถในการยืดปล้องและการแสดงออกของยีน <I>SK2</I> ในข้าวป่าสามัญภายใต้สภาพน้ำลึก

Main Article Content

ปฐมาภรณ์ มาสุด
ศันสนีย์ จำจด
ต่อนภา ผุสดี

บทคัดย่อ

ข้าวป่าสามัญเป็นแหล่งพันธุกรรมที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น น้ำท่วม หรือแห้งแล้ง เป็นต้น ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการยืดปล้องและการแสดงออกของยีน SK2 ในข้าวป่าลำพูน (WLP) และข้าวป่าเชียงใหม่ (WCM) ข้าวป่าร้อยเอ็ด (WRE) และข้าวป่าสุรินทร์ (WSR) ภายใต้สภาพน้ำลึก โดยวางแผนการทดลองแบบ randomize complete block design จำนวน 3 ซ้ำ นำข้าวป่าอายุ 60 วันหลังเพาะเมล็ด ย้ายลงบ่อซีเมนต์ที่มีปริมาณน้ำท่วมสูง 90% ของความสูงต้นข้าว เป็นเวลา 14 วัน บันทึกความสามารถในการยืดปล้อง โดยวัดความยาวต้น จำนวนข้อ และ ความยาวปล้อง หลังให้สภาพน้ำลึกครบ 14 วันพบว่าข้าวป่าลำพูนมีความยาวต้นที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากที่สุด มีจำนวนข้อมากที่สุด (3 ข้อ) และมีความยาวปล้องในปล้องที่ 2, 3 และ 4 เฉลี่ยมากที่สุด (11.0, 7.6 และ 2.9 เซนติเมตร ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาระดับการแสดงออกของยีน SK2 พบว่าข้าวป่าลำพูนมีระดับการแสดงออกของยีนมากที่สุด พบความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างความยาว และการยืดปล้องกับการแสดงออกของยีน SK2 เมื่อนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกันแล้วจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ยีน SK2 เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อสภาพน้ำลึกโดยการยืดปล้อง งานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกพันธุกรรมของข้าวป่าสามัญเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวน้ำลึกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anandan, A., S.K. Pradhan, S.K. Das, L. Behera and G. Sangeetha. 2015. Differential responses of rice genotypes and physiological mechanism under prolonged deepwater flooding. Field Crops Research 172: 153-163.

Choi, D. 2011. Molecular events underlying coordinated hormone action in submergence escape response of deepwater rice. Journal of Plant Biology 54(6): 365-372.

Hattori, Y., K. Nagai and M. Ashikari. 2011. Rice growth adapting to deepwater. Current Opinion in Plant Biology 14(1): 100-105.

Hattori, Y., K. Nagai, S. Furukawa, X.J. Song, R. Kawano, H. Sakakibara and M. Ashikari. 2009. The ethylene response factors SNORKEL1 and SNORKEL2 allow rice to adapt to deep water. Nature 460(7258): 1026-1030.

Kihara, H., T.C. Katayama and K. Tsunewaki. 1962. Floating habit of 10 strains of wild and cultivated rice. Japanese Journal of Genetics 37(1): 1-9.

Mohapatra, P.K., B.B. Panda and E. Kariali. 2011. Plasticity of tiller dynamics in wild rice Oryza rufipogon Griff.: A strategy for resilience in suboptimal environments. International Journal of Agronomy, Article ID 543237, doi: 10.1155/2011/543237.

Morishima, H., Y. Sano and H.I. Oka. 1984. Differentiation of perennial and annual types due to habitat conditions in the wild rice Oryza perennis. Plant Systematics and Evolution 144(2): 119-135.

Nagai, K., Y. Hattori and M. Ashikari. 2010. Stunt or elongate? Two opposite strategies by which rice adapts to floods. Journal of Plant Research 123(3): 303-309.

Okishio, T., D. Sasayama, T. Hirano, M. Akimoto, K. Itoh and T. Azuma. 2014. Growth promotion and inhibition of the Amazonian wild rice species Oryza grandiglumis to survive flooding. Planta 240(3): 459-469.

Punyalue, A. 2006. Characterization of common wild rice populations from main rice growing regions of Thailand. M.S. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 76 p. (in Thai)

Schneider, C. A., W.S. Rasband and K.W. Eliceiri. 2012. NIH Image to ImageJ: 25 years of image analysis. Nature Methods 9(7): 671-675.

Singh, A., E.M. Septiningsih, H.S. Balyan, N.K. Singh and V. Rai. 2017. Genetics, physiological mechanisms and breeding of flood-tolerant rice (Oryza sativa L.). Plant and Cell Physiology 58(2): 185-197.

Vaughan, D. A. 1994. The Wild Relatives of Rice: A Genetic Resources Handbook. International Rice Research Institute, Los Baños. 148 p.