ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจและการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู <I>Phenacoccus manihoti</I> Matile-Ferrero (Hemiptera: Pseudococcidae) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

รัชฎาวรรณ เงินกลั่น
เบญจคุณ แสงทองพราว

บทคัดย่อ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล และการสร้างแบบจำลองถิ่นอาศัยด้วยซอฟต์แวร์ Maxent ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างแผนที่ทำนายความเสี่ยงสำหรับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทย  โดยทำการสำรวจประชากรเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังจำนวน 255 แปลง ครอบคลุมจังหวัดปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว และนครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2556 ถึง มกราคม 2557 ได้ข้อมูลตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ของแปลงที่ปรากฏเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูจำนวน 204 แปลง และข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากภาพถ่ายดาวเทียม MODIS และ สถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ 12 สถานี มาทำการสร้างแบบจำลองการกระจายตัวของประชากร พบว่าพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนรายเดือนระดับต่ำที่ 100-135 มม. ค่าอุณหภูมิผิวดินระหว่างวัน (LSTD) ที่ -100 ถึง -30 ºC และค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) ระหว่าง -0.3 และ 0.6 เป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ค่า AUC ที่ 0.981 แสดงว่าแบบจำลองมีความน่าเชื่อถือในระดับดีเยี่ยม พื้นที่เสี่ยงที่ระดับอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองได้ถูกอธิบายไว้ในการศึกษาครั้งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2554. ดรรชนีความแห้งแล้งสําหรับประเทศไทย. เอกสารวิชาการ. ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร สํานักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. กรุงเทพ. 103 หน้า.
ขนิษฐา สุทธิบริบาล สมนิมิตร พุกงาม และ ปิยพงษ์ ทองดีนอก. 2554. การประเมินค่าความชื้นในดินโดยใช้ดัชนีพืชพรรณบริเวณไร่มันสำปะหลัง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร วนศาสตร์ 30 (3): 24-32.
ชลิดา อุณหวุฒิ. 2554. อนุกรมวิธานของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง. หน้า 35-39. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจําปี 2554 สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร.
เผ่าไท ถายะพิงค์ และ ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์. 2558. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงศัตรูกาแฟอราบิกาในจังหวัดหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. วารสารเกษตร 31(2): 203-213.
วลัยพร ศะศิประภา นรีลักษณ์ วรรณสาย สุภาพร ราจันทึก และ ณิชา โป๋ทอง. 2555. ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผลต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการเกษตร 30(3): 290-299.
สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง. 2553. คู่มือการเลี้ยงและการขยายพันธุ์แตนเบียน Anagyrus lopezi เพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง. เอกสารวิชาการ. มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง), นครราชสีมา. 16 หน้า.
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). 2558. บันทึกเหตุการณ์ภัยแล้ง 2557/2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thaiwater.net/current/drought58/drought58.html (24 พฤศจิกายน 2555).
อัมพร วิโนทัย ประภัสสร เชยคำแหง รจนา ไวยเจริญ ชลิดา อุณหวุฒิ อิสระ พุทธสิมมา วัชริน แหลมคม และ เถลิงศักดิ์ วีระวุฒิ. 2553. การนำเข้าแตนเบียน Anagyrus lopezi เพื่อควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/ research/files/1796_2553.pdf. (24 พฤศจิกายน 2555).
โอภาษ บุญเส็ง. 2552. เพลี้ยแป้ง มหันตภัยต่อมันสำปะหลัง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://thaitapiocastarch.org/article20_th.asp (24 พฤศจิกายน 2555).
Bellotti, A.C., A.R. Braun, B. Arias, J.A. Castillo and J.M. Guerrero. 1994. Origin and management of neotropical cassava arthropod pests. African Crop Science Society 2: 407-417.
Bellotti, A.C., L. Smith and S.L. Lapointe. 1999. Recent advances in cassava pest management. Annual Review of Entomology 44: 343-370.
Iheagwam, E.U. and M.C. Eluwa. 1983. The effects of temperature on the development of the immature stages of the Cassava Mealybug, Phenacoccus manihoti Mat-Ferr. (Homoptera, Pseudococcidae). Deutsche Entomologische Zeitschrift 30(1-3): 17-22.
Lema, K.M. and H.R. Herren. 1985. The influence of constant temperature on population growth rates of the cassava mealybug, Phenacoccus manihoti. Entomologia Experimentalis et Applicata 38(2): 165-169.
Le Rü, B.P. and Y. Iziquel. 1990. An experimental study, with the aid of a rain simulator, of the mechanical effect of rainfall on populations of the cassava mealybug, Phenacoccus manihoti. Acta Oecologica 11(5): 741-754.
Nassar, N. M.A. and R. Ortiz. 2007. Cassava improvement: challenges and impacts. The Journal of Agricultural Science 145: 163-171.
Parsa, S., T. Kondo and A. Winotai. 2012. The cassava mealybug (Phenacoccus manihoti) in Asia: first records, potential distribution, and an Identification Key. PLoS ONE. 7(10): e47675.
Peterson, A.T. 2006. Uses and requirements of ecological niche models and related distributional models. Biodiversity Informatics 3: 59-72.
Peterson, A.T. and D.A. Vieglais. 2001. Predicting species invasions using ecological niche modeling: new approaches from bioinformatics attack a pressing problem. BioScience 51(5): 363-371.
Poramacom, N., A. Ungsuratana, P. Ungsuratana and P. Supavititpattana. 2013. Cassava production, prices and related policy in Thailand. American International Journal of Contemporary Research 3(5): 43-51.
Ratanawaraha, C., N. Senanarong and P. Suriyapan. 2000. Status of cassava in Thailand: Implications for future research and development. Proceedings of the validation forum on the global cassava development strategy. Rome, April 26-28, Vol. 3. FAO/International Fund for Agricultural Development.
Soysouvanh, P. and N. Siri. 2013. Population abundance of pink mealybug, Phenacoccus manihoti on four cassava varieties. Khon Kaen Agriculture journal J. 41(SUPPL. 1): 149-153.
Warren, D. and S. Seifert. 2011. Environmental niche modeling in Maxent: the importance of model complexity and the performance of model selection criteria. Ecological Applications 21: 335-342.