การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองและสารเคมีตามคำแนะนำในระบบ GAP เพื่อควบคุม แมลงศัตรูพืชใน การผลิตถั่วเหลืองฝักสดในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ทัพไท หน่อสุวรรณ
จตุรงค์ พวงมณี
ระพีพงศ์ เกษตรสุนทร
กุหลาบ อุตสุข
แววจันทร์ พงค์จันตา

บทคัดย่อ

ปลูกถั่วเหลืองฝักสด (Glycine max L. Merrill) ในฤดูแล้งและฤดูฝนที่สถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเปรียบเทียบกรรมวิธีการกำจัดแมลงโดยการใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองกับการใช้สารเคมีตามคำแนะนำในระบบ GAP เพื่อควบคุมการเข้าทำลายของแมลงศัตรูถั่วเหลืองฝักสด พบการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช 7 ชนิด การเข้าทำลายของแมลงวันหนอนเจาะลำต้นถั่ว (Melanagromyza sp.) และหนอนเจาะฝัก (Etiella zinckenella) ภายใต้การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองลดลงร้อยละ 68.5 และ 51.6 ของกรรมวิธีที่ไม่มีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชตามลำดับ อย่างไรก็ตามการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อน (Aphis glycines) ภายใต้การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองเพิ่มขึ้นมากกว่ากรรมวิธีที่ไม่มีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชร้อยละ 28.0 ที่ 40 วันหลังปลูก ตรงกันข้ามการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักภายใต้การใช้สารเคมีตามคำแนะนำ ในระบบ GAP ลดลงเหลือร้อยละ 7.3 และ 1.1  ของกรรมวิธีที่ไม่มีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชตามลำดับ นอกจากนี้น้ำหนักฝักที่มี 2 และ 3 เมล็ด ภายใต้การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองเสียหายได้ถึงร้อยละ 41.1 ของกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีตามคำแนะนำในระบบ GAP

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับถั่วเหลืองฝักสด. เอกสารเผยแพร่. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 36 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. 2550. ระบบการจัดการคุณภาพ: GAP ถั่วเหลืองฝักสด. เอกสารวิชาการ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 47 หน้า.
กรุง สีตะธนี และ สิริกุล วะสี. 2538. ถั่วแระญี่ปุ่นหรือถั่วเหลืองฝักสด. เอกสารเผยแพร่. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 19 หน้า.
จตุรงค์ พวงมณี จำลอง โพธาเจริญ สมเกียรต์ สุวรรณคีรี สิทธิชัย ลอดแก้ว ศักดิ์มนตรี นาชัยเวียง และ กุหลาบ อุตสุข. 2547. การออกแบบระบบการผลิตผักปลอดสารพิษอย่างยั่งยืนในพื้นที่เกษตรชานเมือง. บทความนำเสนอใน สัมมนาวิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 "สู่ระบบอาหารที่ปลอดภัย สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน", เชียงใหม่. 261-276 หน้า
จตุรงค์ พวงมณี ระพีพงค์ เกษตรสุนทร กุหลาบ อุตสุข พิมพรรณ นันต๊ะภูมิ และ กรรณิการ์ มณีหาญ. 2550. การเปรียบเทียบความแตกต่างของสีที่ใช้เป็นกับดักแมลงในการผลิตผักปลอดสารพิษ. บทความนำเสนอใน ประชุมวิชาการศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตประจำปี 2550, เชียงใหม่. 143-148 หน้า.
ชาญณรงค์ ดวงสอาด. 2555. ระดับเศรษกิจของแมลงศัตรูพืช. วารสารเกษตร 28(3): 313-320.
ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่. 2557. ถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์เชียงใหม่ 1. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/fcrc/chiangmai/index.php?option=com_content&view=article&id=67:chiangmai-soybean1&catid=39:soybean-seed&Itemid=103 (21 ธันวาคม 2557).
สถาบันวิจัยพืชไร่. 2557. แมลงศัตรูถั่วเหลืองฝักสด. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: from http://www.arda.or.th/kasetinfo/north/plant/soy_insect.html (21 ธันวาคม 2557).
Srinivasan, R., F-. C. Su, C-. C. Huang, M-. Y. Lin and Y-. C. Hsu. 2009. Integrated Pest Management in Organic Vegetable Soybean Production. Paper presented at Biophysical and Socio-economic Frame Conditions for the Sustainable Management of Natural Resources, Hamburg. pp 131-135.
Yeh, C. C., G. L. Hartman and N. S. Talekar. 1991. Plant protection technology for vegetable soybean. Document in the Workshop on vegetable soybean: Research needs for production and quality improvement, Taiwan. pp. 85-91.