ความสามารถในการรวมตัวของลักษณะผลผลิต ของพริกที่ใช้แม่พันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมัน

Main Article Content

ขวัญดาว แก้วสมบัติ
มณีฉัตร นิกรพันธุ์

บทคัดย่อ

การประเมินพันธุกรรมของพริกพันธุ์ CA1441-J-8 และ CA1442 ดำเนินการโดยผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์เพศผู้เป็นหมัน PEPAC32 และ PEPAC38 แล้วตรวจสอบความมีชีวิตของเรณูของลูกผสมชั่วที่หนึ่ง  พบว่า พันธุ์ CA1441-J-8 และ CA1442 มีพันธุกรรมแบบพันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมัน หรือ B line  ศึกษาความสามารถในการรวมตัวของพริกโดยผสมข้ามระหว่างแม่พันธุ์รักษาเพศผู้เป็นหมัน CA1441-J-8 และ CA1442 กับพ่อพันธุ์เพศผู้ปกติ 6 พันธุ์ ได้แก่ CA1446-8-2, CA1447-4-19, CA1448-5-13, CA1449-2-5, CA1450-3-6 และ CA1451-5-11 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่งกับพ่อแม่พันธุ์ และพันธุ์การค้า พบว่า ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง CA1441-J-8 × CA1450-3-6 ให้ผลผลิตไม่ต่างจากลูกผสมส่วนใหญ่ แต่ให้ผลผลิตสูงกว่าแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ส่วนใหญ่ และพันธุ์การค้า (ตารางที่ 2)  ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง CA1442 × CA1447-4-19 ให้น้ำหนักผลเฉลี่ย 75.61 กรัม ซึ่งสูงกว่าพริกทุกพันธุ์ที่ทดสอบ  แม่พันธุ์ CA1441-J-8 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของลักษณะความยาวผล  แม่พันธุ์ CA1442 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของลักษณะน้ำหนักผลเฉลี่ย  พ่อพันธุ์ CA1450-3-6 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของปริมาณผลผลิต น้ำหนักผลเฉลี่ย และความกว้างผล  พ่อพันธุ์ CA1447-4-19 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของลักษณะน้ำหนักผลเฉลี่ย ความกว้างผล และความยาวผล  พ่อพันธุ์ CA1448-5-13 มีความสามารถในการรวมตัวทั่วไปแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกของลักษณะความยาวผล  ลูกผสมบางคู่ที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์เหล่านี้ยังมีความสามารถในการรวมเฉพาะเจาะจงของบางลักษณะที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวกด้วย  ลูกผสมส่วนใหญ่แสดงความดีเด่นของลูกผสมที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อ-แม่ของลักษณะจำนวนผลต่อต้น น้ำหนักผลเฉลี่ย ความกว้างผล และความยาวผล  ลูกผสมระหว่าง CA1441-J-8 × CA1450-3-6, CA1442 × CA1447-4-19, CA1442 × CA1448-5-13 และ CA1442 × CA1450-3-6 เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาพันธุ์พริกลูกผสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2544. ปรับปรุงพันธุ์พืช: ความหลากหลายของแนวคิด. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 272 หน้า.
จุทามาส คุ้มชัย และมณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2550. การปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ของพริกเผ็ด โดยใช้ลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน. วารสารเกษตร 23(1): 17-24.
ดำเนิน กาละดี. 2545. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่. 256 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2554. สถิติการนำเข้าส่งออก. (ระบบออนไลน์).แหล่งที่มา http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/import.php? (30 สิงหาคม 2557).
Bhagyalakshmi, P. V., C. R. Shankar, D. Subrahmanyam and V. G. Babu. 1991. Heterosis and combining ability studies in chillies. The Indian Journal of Genetics and Plant Breeding 51: 420-423.
Gandhi, S. D., P. A. Navale and V. Kishore. 2000. Heterosis and combining ability studies in chilli. Crop Research (Hisar) 19: 493-499.
Geleta, L. F. and M. T. Labuschagne. 2004. Hybrid performance for yield and other characteristics in pepper (Capsicum annuum L.). Journal of Agricultural Science 142: 411-419.
Gulyas, G., K. Pakozdi, J.S. Lee and Y. Hirata. 2006. Analysis of fertility restoration by using cytoplasmic male-sterile red pepper (Capsicum annuum L.) lines. Breeding Science 56: 331-334.
Hasanuzzaman, M., and F. Golam. 2011. Gene actions involved in yield and yield contributing traits of chilli (Capsicum annuum L.). Australian Journal of Crop Science 5(13): 1868-1875.
Jadhav, M. G., A. V. Burli, S. M. More and B. N. Gare. 2001. Combining ability and gene action for quantitative characters in chilli. Journal of Maharashtra Agricultural Universities 26: 252-253.
Kempthorne, O. 1957. An Introduction to Genetic Statistics. Cited by R. K. Singh and B. D. Chaudhary. 1979. Biometrical Methods in Quantitative Genetic Analysis. Kalyani Publishers, New Delhi. 191-200.
Kumar, S., S. K. Rai, M. K. Banerjee and G. Kalloo. 2001. Cytological mechanisms of male sterility in a nuclear-cytoplasmic line of chili pepper (Capsicum annuum L.). Capsicum and Eggplant Newsletter 20: 64-67.
Meshram, L. D., R. V. Choudhari, B. K. Kukade and M. W. Marawar. 1992. Functional male sterility in hot chili (Capsicum annuum L.). Eucarpia VIIth Meeting on Genetics and Breeding of Capsicum and Eggplant 2: 61-65.
Patel, M. P., A. R. Patel, J. B. Patel, and J. A. Patel. 2010. Heterosis for green fruit yield and its components in chilli (Capsicum annuum var. longicum (DG) Sendt) over environments. Electronic Journal of Plant Breeding 1(6): 1443-1453.
Purseglove, J. W. 1968. Tropical Crops Dicotyledons 2. Longmans Green and Co. Ltd., London. 719 p.