สมรรถภาพการเจริญเติบโตและองค์ประกอบซากของ ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต และองค์ประกอบซากของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอกใช้แผนการทดลองแบบบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ทรีตเมนต์ ๆ ละ 3 บล็อก ๆ ละ 2 ซ้ำ ๆ ละ 6 ตัว ใช้ไก่พื้นบ้านทั้งหมด 72 ตัว แยกเป็นเพศผู้ 36 ตัวและเพศเมีย 36 ตัว สัตว์ทดลองน้ำหนักเริ่มต้นระหว่าง 460-540 กรัม 541-620 กรัม และ 680-760 กรัม ใช้เวลาในการศึกษาเป็นระยะเวลา 84 วัน จากนั้นทำการชำแหละแยกชิ้นส่วนเพื่อหาองค์ประกอบซาก สรุปได้ดังนี้สมรรถภาพการเจริญเติบโตพบว่า ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกไม่งอกมีน้ำหนักเริ่มต้นน้ำหนักสุดท้าย และน้ำหนักก่อนฆ่า สูงกว่าไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอก (P<0.05) ประสิทธิภาพของการใช้อาหารพบว่า การใช้อาหารของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอก มีปริมาณการกินได้ทั้งหมด ปริมาณอาหารที่กินได้ต่อตัว อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวทั้งหมด มีค่าสูงกว่าไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกไม่งอก (P<0.05)
องค์ประกอบซากของไก่พื้นเมืองส่วนที่กินได้ พบว่าไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอกมี เนื้ออก เนื้อสันใน เนื้อน่อง เนื้อสะโพก ปีกบน ปีกล่าง โครงกระดูก แข้ง และคอ ต่ำกว่าไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือก (P<0.05) องค์ประกอบซากส่วนที่กินไม่ได้ พบว่า ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกมีเปอร์เซ็นต์ หัว สูงกว่าการเลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอก (P<0.05) อวัยวะภายในพบว่า กึ๋นและลำไส้ ของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกมีค่าสูงกว่าการเลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอก (P<0.05) และไก่ที่เลี้ยงด้วยข้าวเปลือกงอกมี ตับ หัวใจ และม้าม ไม่แตกต่างกันกับการเลี้ยงด้วยข้าวเปลือก (P>0.05)
Article Details
References
จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล. 2549. มหัศจรรย์ของความเป็นข้าว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://pcog.pharmacy.psu.ac.th (1 มกราคม 2556).
ณัฐวัตร แช่ตัง. 2550. การศึกษาสารอาหารและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในข้าวงอก. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 97 หน้า.
ทรงยศ กิตติชนม์ ธวัชชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ สำเร็จ ไพบูลย์ และ อมรรัตน์ พรหมบุญ. 2546. การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของไก่พื้นเมืองไทย ไก่พื้นเมืองญี่ปุ่น และไก่ลูกผสมพื้นเมืองไทย x พื้นเมืองญี่ปุ่น. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41: กรุงเทพฯ. 88 หน้า.
พนมกร ลุนลาน และ มนตรี วรกฏ. 2552. การศึกษาคุณภาพซาก องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงแบบธรรมชาติในจังหวัดนครพนม. รายงานฉบับสมบูรณ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม. มหาวิทยาลัยนครพนม. 103 หน้า.
วีรชัย โพธิวาระ. 2527. การเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวภายใต้สภาพการเลี้ยงดูในชนบท. รายงานประจำปี 2527-2528 สำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียง- เหนือ.
สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ และ ธีรยุทธ จันทะนาม. 2542. บทปฏิบัติการเนื้อสัตว์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 117 หน้า.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2547. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย-เชียงใหม่, เชียงใหม่. 332 หน้า.
สวัสดิ์ ธรรมบุตร และ เกรียงไกร โชประการ. 2525. อัตราการเจริญเติบโต และความต้องการโปรตีนของไก่พื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในสภาพชนบท. หน้า 98-108. ใน: รายงานผลวิจัยสาขาสัตวศาสตร์. การประชุมทางวิชาการครั้งที่ 20 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
สาคร คณาศรี. 2555. ขั้นตอนการผลิตข้าวฮางงอก. สหกรณ์ข้าวฮางหนองบัวลำภูจำกัด จังหวัดหนองบัวลำภู.
อุทัย คันโธ. 2529. อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสนนครปฐม. 297 หน้า.
อุดมศรี อินทรโชติ รัชดาวรรณ พูนพิพัฒน์ และ กัลยา บุญญานุวัตร. 2539. การเจริญเติบโตคุณภาพซากของไก่ลูกผสมพื้นเมือง. ประมวลเรื่องประชุมวิชาการปศุสัตว์ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2529 วันที่ 4-6 กันยายน 2539. กรมปศุสัตว์. หน้า 303-314.
อำนวย เลี้ยวธารากุล พัชรินทร์ สนธิ์ไพโรจน์ และ ศิริพันธ์ โมราถบ. 2539. การผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ไก่เนื้อพื้นเมือง สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม. II. สมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์. วารสารเกษตร 12(1): 55-64.
Steel, R. G. D. and J. H. Torrie. 1980. Principle and Procedure of statistics: MC Graw-Hill Book company, New York. 631 p.
Tathong, T., S. Worrawattanatam and S. Srihan. 2009. A study carcass qualities, carcass composition and meat quality of common Thai Indigenous chicken raised by natural farming in Nakhon Phanom Province. Proceeding of attended the fourth GMSARN international: Vietnam 54-60.