การสำรวจเพลี้ยไฟหม่อนและเชื้อราสาเหตุโรคแมลง

Main Article Content

ณัฐกานต์ งามแสงฤทธิ์
จิราพร กุลสาริน
สิริญา คัมภิโร
เสาวณีย์ อภิญญานุวัฒน์

บทคัดย่อ

การสำรวจและรวบรวมเพลี้ยไฟในแปลงหม่อนจังหวัดเชียงใหม่ 7 แห่ง พบการระบาดของเพลี้ยไฟในแปลงหม่อนของเกษตรกร อำเภอฝางมากที่สุด เพลี้ยไฟที่เข้าทำลายต้นหม่อนคือเพลี้ยไฟหม่อน Pseudodendrothrips sp. มีจำนวนเฉลี่ย 30 ตัวต่อยอด และเมื่อทำการสำรวจเพลี้ยไฟที่ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ (ส่วนแยกแม่โจ้) ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 พบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ มีการระบาดของเพลี้ยไฟในปริมาณมาก เฉลี่ย 64.06 ตัวต่อยอด ซึ่งการระบาดของเพลี้ยไฟสร้างความเสียหายต่อใบหม่อน ปัจจุบันมีการใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัดแมลงประเภทปากดูดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาเก็บรวบรวมเชื้อราสาเหตุโรคแมลงของเพลี้ยไฟบนต้นหม่อนสามารถจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคแมลงได้ 2 ชนิด คือ เชื้อรา Verticillium lecanii จำนวน 4 ไอโซเลท และเชื้อรา Isaria fumosorosea จำนวน 3 ไอโซเลท เมื่อทำการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคแมลง พบว่า I. fumosorosea ทั้ง 3 ไอโซเลทมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่า V. Lecanii ทั้งที่เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิห้อง (30 ±0.84 องศาเซลเซียส) โดย I. fumosorosea ไอโซเลท CMU-IsFa 2 มีค่าเฉลี่ยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีกว้างที่สุดทั้งที่เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิห้อง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.58 และ 7.47 เซนติเมตร ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2546. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรด้านการป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในพื้นที่ที่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชปริมาณมาก: การเรียนรู้ศัตรูธรรมชาติ. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://thailand.ipm-info.org/documents/ Understanding_Natural_Enemies_(Thai).pdf (5 มีนาคม 2556).

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2550. เพลี้ยไฟหม่อน. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://182.93.200.16/244/media/din/agrilib/library/html/detail/monpes/mon18.htm (9 มกราคม 2556).

ไชยา อุ้ยสูงเนิน. 2532. การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแผนใหม่. สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม, นนทบุรี. 63 หน้า.

เบญจวรรณ สันธิ. 2546. แมลงศัตรูของหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 28 หน้า.

ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์. 2550. การปลูกหม่อนและการเลี้ยงไหม. สำนักพิมพ์เพชรกะรัต, กรุงเทพฯ. 128 หน้า.

ภานุวัฒน์ ยอดคำ. 2553. ประสิทธิภาพเชื้อรา Paecilomyces tenuipes (Peck) และ Metarhizium anisopliae (Metsch.) Sorokin ในการควบคุมแมลงหวี่ขาวเกลียวบนใบหม่อน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 27 หน้า.

มาลี ตั้งระเบียบ. 2551. เชื้อรากำจัดแมลง. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลําปาง. 25 หน้า.

วราลักษณ์ อรุณวรรณศิริ. 2544. ชนิดของเพลี้ยไฟที่เข้าทำลายช่อดอกลำไยและผลกระทบต่อการติดผล. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 56 หน้า.

ศิริณี พูนไชยศรี. 2544. เพลี้ยไฟ (Terebrantia). กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 75 หน้า.

ชฎารัตน์ ชมภูพลอย จิราพร กุลสาริน ไสว บูรณพานิช-พันธุ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ และ สิริญา คัมภิโร. 2556. การเก็บรวบรวมเชื้อราสาเหตุโรคแมลงของเพลี้ยไฟพริกหวานในโรงเรือนใน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 29(1): 55-62.

Brownbridge, M. 1995. Prospects for mycopathogens in thrips management. In: B. L. Parker, M. Skinner and T. Lewis (eds.). Thrips Biology and Management. University of Vermont, Burlington, New York. pp. 281-295.

Deshpande, M. V. 1999. Mycopesticide production by fermentation: Potential and challenges. Critical Reviews in Microbiology 25(3): 229-243.

Domsch, K. H., W. Gams and G. Anderson. 1993. Compendium of Soil Fungi. Volume 1, 2nd edition. Academic Press, London. 860 p.

Elander, R. P. and A. D. Lower. 1992. Fungal biotechnology. In: D. K. Arora, R. P. Elander and K. G. Mukerji (eds.). Handbook of Applied Mycology: Fungal Biotechnology. Marcel Dekker Inc., New York. pp. 1-34.

Fransen, J. J. 1990. Fungi on aphids, thrips and whitefly in the greenhouse environment. In: Proceedings of 5th International Colloquium on Invertebrate Pathology and Microbial Control. Society for Invertabrate Pathology, Adelaide, Australia. pp. 376-380.

Gillespie, A. T. 1986. The potential of entomogenous fungi as control agent for onion thrips, Thrips tabaci. In: P. R. Day, (ed.), Proceedings of Brighton Crop Protection Conference: Biotechnology and Crop Improvement and Protection. Brighton, UK. pp. 237-242.

Helyer, N. L., G. Gill, A. Bywater and R. Chamber. 1992. Elevated humidities for control of Chrysanthemum pests with Verticllium lecanii. Pesticide Science 36: 373-378.

Hywel-Jones, N. L. 2002. Whole ascospores and part-spores in the megagenus Cordyceps. Mycological Research 106: 2-3.

Lacey, L. A. and M. S. Goettel. 1995. Current development in microbial control of insect pests and prospects for the early 21st century. Entomophaga 40(1): 3-27.

Lubilosa. 2004. Collection of Insect Pathogens. (online). Available: http://www.lubilosa. org/Engl02a.PDF. (March 3, 2013).

Moore-Landecker, E. 1996. Fundamentals of the Fungi. 4th edition. Prentice Hall International Inc., New Jersey. 574 p.

Ray, C. 2001. The Entomopathogen Verticillium lecanii (Online). Available: http://www.entomology.wisc.edu/mbcn/kyf612.html (January 9, 2013).

Tahira, R., W. Wakil, M. Yasin and Y. J. Kwon. 2013. Mixing of Isaria fumosorosea with enhanced diatomaceous earth and bitterbarkomycin for control of Rhyzopertha dominica. Entomological Research 43(4): 215–223.

Talekar N. S. 1991. Thrips in Southeast Asia. (Online). Available: http://pdf.usaid.gov/pdf_docs/pnabk805.pdf (January 29, 2013).

Vestergaard, S., A. T. Gillespie, T. M. Butt, G. Schreiter and J. Eilenberg. 1995. Pathogenicity of the hyphomycete fungi Verticillium lecanii and Metarhizium anisopliae to the western flower thrips, Frankliniella occidentalis. Biocontrol Science and Technology 5: 185-192.

Weeden, C.R., A. M. Shelton and M. P. Hoffman. 2009. Biological control: A guide to natural enemies in North America. (Online). Available: http://www.biocontrol. entomology.cornell.edu/ pathogens/fungi.html (January 9, 2013).