ผลของกรดจิบเบอเรลลิก (GA3) ต่อคุณภาพ และการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลของดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์

Main Article Content

เพชรรัตน์ เนตรลักษณ์
วชิรญา อิ่มสบาย

บทคัดย่อ

ดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์เกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยดอกบัวหลวงแสดงอาการกลีบดำและสีซีดจางและมีอายุการปักแจกันสั้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากอาหารสะสมภายในดอกไม่เพียงพอหรือไม่สามารถนำไปใช้ได้และมีรายงานว่ากรดจิบเบอเรลลิก (GA3) ยืดอายุปักแจกันได้ จึงได้ศึกษาผลของ GA3 ต่ออาการกลีบดำ อายุการปักแจกันและการเปลี่ยนน้ำตาลในบัวหลวงตัดดอก พบว่าการปักแจกันดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์ระยะดอกตูมในสารละลาย giberellic acid (GA3) 50 mg/L ชะลออาการกลีบดำและสีซีดจางได้ เพิ่มอัตราการดูดน้ำและชะลอการลดลงของการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสด โดย GA3 สามารถยืดอายุการปักแจกันดอกบัวหลวงได้นานกว่าการปักแจกันในน้ำกลั่น 0.8–1.4 วัน และ GA3 ทำให้ก้านดอกบริเวณคอดอกยืดยาวขึ้นเฉลี่ย 5.5 เซนติเมตร ส่วนการเปลี่ยนแปลงน้ำตาลของดอกบัวหลวงที่ปักแจกันในสารละลาย GA3 ตรวจพบปริมาณน้ำตาล glucose และ fructose สะสมน้อยกว่าการปักแจกันในน้ำกลั่น บ่งชี้ว่า GA3 ส่งเสริมให้ดอกบัวหลวงใช้น้ำตาลที่สะสมในกลีบดอกได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ช.ณิฏฐ์ศิริ สุยสุวรรณ. 2545. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวไม้ตัดดอก. แมสพับลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ: ประดิพัทธ์. 194 หน้า.

เจษฎาพร ทุมเพชร, 2554. ผลของ naphthalene acetic acid และ gibberellic acid ต่อคุณภาพบัวหลวงตัดดอก. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม. 31 หน้า.

เพชรรัตน์ เนตรลักษณ์. 2554. บทบาทของน้ำตาลต่อคุณภาพดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบุษย์. ปัญหาพิเศษปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม. 49 หน้า.

รัชนี ภัทรวาโย. 2550. ผลของน้ำตาลในสารละลายยืดอายุที่มีต่อเมแทบอลิซึมของน้ำตาลและกิจกรรมของเอนไซม์อินเวอร์เทสในดอกกล้วยไม้สกุลหวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 84 หน้า.

สายชล เกตุษา. 2531. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของดอกไม้. บริษัทสารมวลชน จำกัด, กรุงเทพฯ. 291 หน้า.

Figueroa I., M. T. Colinas, J. Mejía and F. Ramírez. 2005. Postharvest Physiological Changes in Roses of Different Vase Life. Ciencia einvestigacion agraria (Cien. Inv. Agr). 32(3): 167-176.

Hawker, J. S., R. R. Walker and H. P. Ruffner. 1976. Invertase and sucrose synthase in flowers. Phytochemistry 15: 1411-1443.

Imsabai W., S. Ketsa, W.G. Van doorn. 2010. Role of ethylene in the lack of floral opening and in petal blackening of cut lotus (Nelumbo nucifera) flowers. Postharvest Biol. Technol. 58: 57-56.

Nowak, J. and R. M. Rudnicki. 1990. Postharvest Handling and Storage of Cut Flower, Florist Greens and Potted Plant. Chapman and Hall, London. 210 p.

Reyes, F. G. R. 1982. Sugar composition and flavor quality of high sugar (Shrunken) and normal sweet corn. J. Food Sci. 47:753-755.

Salisbury, F. and C. W. Ross. 1992. Plant Physiology. Wadswort Publishing Company, California. 682 p.

Taiz, L. and E. Zeiger. 1991. Plant Physiology. The Benjamin/Cummings Publishing Company, Inc., California. 559 p.

Van Doorn, W.G., J. Hibma and J. de Wit. 1992. Effect of exogenous hormones on leaf yellowing in cut flowering branches of Alstromeria pelegrina L.. Plant Growth Regul. 11: 59-62.

Waithaka, K., L. L. Dodge and M. S. Reid. 2001. Carbohydrate traffic during opening of gladiolus florets. J. Hort. Sci. Biotech. 76: 120-124.