กลยุทธในการดำรงชีพที่กระจายความเสี่ยงในระบบการผลิตฝ้ายหลังฤดูมรสุมบนพื้นที่ดอนอาศัยน้ำฝนของภาคกลางประเทศเมียนมาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ผลของสินทรัพย์ในการดำรงชีพต่อการผลิตฝ้ายหลังฤดูมรสุม และศึกษาปัจจัยข้อจำกัดในการผลิตฝ้ายในเมือง เจ้าเซ เมียต่า และวันวิน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศเมียนมาร์ ในปี 2553 โดยทำการสัมภาษณ์เกษตรกร 150 ครัวเรือน ที่อาศัยในพื้นที่ โดยใช้กรอบวิถีชีวิตที่ยั่งยืน (Sustainable Livelihoods Framework) พบว่าสาเหตุที่ผลผลิตฝ้ายต่ำเนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัญหาโรค การจัดการปุ๋ยที่ไม่เหมาะสม ขาดแคลนแรงงานช่วงเก็บเกี่ยว มีปัจจัยการเงินจำกัด และการได้รับการส่งเสริมที่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังทำให้ผลผลิตฝ้ายลดลง เกษตรกรที่ผลิตฝ้ายได้นำวิธีการจัดการที่หลากหลายเพื่อการผลิตฝ้ายอย่างยั่งยืน รวมถึงการใช้พันธุ์ปรับปรุง เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี การป้องกันศัตรูพืชและวิธีการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสม และการปลูกพืชหมุนเวียน เกษตรกรได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รายได้สูงขึ้น เกษตรกรได้ประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ในการดำรงชีวิตที่หลากหลายที่มีการผสมผสานระหว่างการผลิตทางเกษตรร่วมกับกิจกรรมนอกภาคเกษตร และกิจกรรมที่ไม่ได้มาจากการเกษตร การเกษตรภายใต้ระบบการผลิตพืชที่หลากหลายยังคงให้รายได้แก่ครัวเรือนสูงสุด
Article Details
References
Chambers, R and G. R. Conway. 1991. Sustainable Rural Livelihoods: Practical Concepts for the 21st Century, IDS Discussion Paper 296, Brighton, England: Institute of Development Studies.
CSD (Cotton and Sericulture Department). 2010. Annual Report. Myanmar Industrial Crops Development Enterprise, Ministry of Agriculture and irrigation, Myanmar.
DFID (Department for International Development). 1999. Sustainable Livelihood Guidance Sheets. London.
DFID (Department for International Development). 2001. Sustainable Livelihood Guidance Sheets. London.
MOAI (Ministry of Agriculture and Irrigation). 2009. Myanmar Agriculture at a Glance. Department of Agricultural Planning, Ministry of Agriculture and irrigation, Myanmar.
MOAI (Ministry of Agriculture and Irrigation). 2010. Myanmar Agriculture in Brief. Department of Agricultural Planning, Ministry of Agriculture and irrigation, Myanmar.
Tin, P. 2006. Cotton in Myanmar. Myanmar Cotton and Sericulture Enterprise. p 107.
Wang, Q. Z., and B. Chidmi. 2009. Cotton Price Risk Management across Different Countries. Presented at the Southern Agricultural Economics Association Annual Meeting, Atlanta, Georgia, January 31-February 3, 2009.