การคัดเลือกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย

Main Article Content

เกวลิน คุณาศักดากุล
ชัยพร ขัดสงคราม

บทคัดย่อ

แยกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ (endophytic actinomycete) จากเปลือกผลของลำไยพันธุ์ดอบนอาหาร IMA-2 ได้เชื้อทั้งหมด 24 ไอโซเลท เมื่อนำมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา ตรวจดูการแตกแขนงของเส้นใยและการจัดเรียงตัวของสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า ทุกไอโซเลทอาจจัดอยู่ในสกุล Streptomyces sp. เมื่อนำมาคัดกรองให้ได้เชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลำไย ได้แก่ Pestalotiopsis sp., Lasiodiplodia sp. และ Trichothecium sp. บนอาหาร IMA-2 พบว่า ไอโซเลท DIM8, DIM9, DIM15 และ DIM19 สามารถยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. ส่วนไอโซเลท DIM4, DIM12, DIM15, DIM16, DIM20 และ DIM25 ยับยั้งเชื้อ Lasiodiplodia sp. และไอโซเลท DIM3, DIM5, DIM15, DIM25 และ DIM26 ยับยั้งเชื้อ Trichothecium sp. และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเชื้อไอโซเลทดังกล่าวข้างต้นกับเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ที่แยกจากพืชสมุนไพร ได้แก่ ไอโซเลท CEN26, COF4, GAR1, HOU2 และ NEE1 พบว่า ให้ผลใกล้เคียงกัน เมื่อนำเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าของลำไยบนอาหาร ISP-2 พบเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงกว่าการทดสอบบนอาหาร IMA-2 โดยไอโซเลท DIM15 สามารถยับยั้งเชื้อ Pestalotiopsis sp. และ Lasiodiplodia sp. ได้ดีที่สุดในระดับสูงมาก ที่ 87.10 และ 73.82 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าการทดสอบบนอาหาร IMA-2 เท่ากับ 86.43 และ 80.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการควบคุมเชื้อ Trichothecium sp. นั้น พบว่า ไอโซเลท GAR1 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ ได้ดีที่สุดที่ 89.68 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดว่ามีประสิทธิภาพการยับยั้งในระดับสูงมากเช่นกัน จากผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ ไอโซเลทดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในการลดการใช้สารเคมีเพื่อการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของลำไยได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกวลิน คุณาศักดากุล และ ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว. 2554. การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สารทุติยภูมิจากเชื้อแอคติโนมัยซีสเพื่อควบคุมโรคทางใบของพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศบนพื้นที่สูง. รายงานฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 71 หน้า.
เกวลิน คุณาศักดากุล และ ประไพพิศ สุวิทย์ชยานนท์. 2552. การพัฒนาผลิตภัณฑ์คลุกเมล็ดจากเชื้อแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟต์เพื่อควบคุมโรคในระยะกล้าของพริกกะเหรี่ยง กะหล่ำปลี และมะเขือเทศ. รายงานฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 58 หน้า.
เกษม สร้อยทอง. 2532. การควบคุมโรคทางพืชโดยชีววิธี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 326 หน้า.
ธิดา ไชยวังศรี. 2535. โรคของผลลำไยพันธุ์ดอก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบันฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 134 หน้า.
นิตยา บุญทิม และ สายสมร ลำยอง. 2543. การศึกษาและคัดแยกแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่สามารถสร้างสารปฏิชีวนะที่ใช้ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 54 หน้า.
ปิยะณัฐ ช่างเงิน, อุราภรณ์ สะอาดสุด, วสุ ปฐมอารีย์, ปริญญา จันทรศรี และเอกชัย ชูเกียรติโรจน์. 2553. ความหลากหลายของเชื้อราในผลลำไยสด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(1): 322-324.
พิชญาภรณ์ สุวรรณกูฏ. 2550. พัฒนาการของโรคผลเน่าจากเชื้อราบนเปลือกและขั้วของผลลำไย (Dimocarpus longan Lour.) พันธุ์ดอหลังการเก็บเกี่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 83 หน้า.
รังสี ดิวรางกูร. 2547. การคัดเลือกแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟท์ในพุทราเพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 81 หน้า.
รัมม์พัน โกศลานันท์ อารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย และวีรภรณ์ เดชนำบัญชาชัย. 2551. การแช่กรดทางเลือกใหม่ที่ทดแทนการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไย.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39 (3) พิเศษ: 39-42.
วันวิสาข์ ริมประณาม และ สมศิริ แสงโชติ. 2545. การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคของผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยวในเขตโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 33(6): 131-133.
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. 2553. ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.it.mju. ac.th/dbresearch/rae/index.php (16 ตุลาคม 2554).
สิคีริยา เรืองยุทธิการณ์ และธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2545. ผลของโอโซนต่ออายุการเก็บรักษาลำไย. วารสารเกษตร 18(3): 172-179.
อภิญญา ผลิโกมล ศิริลาภา สมานมิตร และเครือวัลย์ ทองเล่ม. 2545. ผลการยับยั้งของจุลินทรีย์ที่ผลิตไคติเนสต่อเชื้อราสาเหตุของโรคในมะม่วงและลำไย. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 60 หน้า
Chris, F. 2002. The Role of Actinomycetes in Plant Growth and Development. (Online). Available: http://www.bio.flinders.edu.au/biotech/staff/cmmf_res.htm. (September 15, 2011)
Jiang, Y. 1997. The use of microbial metabolites against post-harvest diseases of longan fruit. International Journal of Food Science and Technology 32:535-538.
Jonete, M., A. C. Silva and J. L. Azevedo. 2000. Isolation of endophytic actinomycetes from roots and leaves of maize (Zea mays L.). Arquivos de Biologia E Tecnologia 28(6): 303-310.
Miyadoh, S., M. Hamada, K. Hotta, T. Kudo, A. Seino, G. Vobis and A. Yokpya. 1997. Atlas of Actinomycetes. The Society for Actinomycetes Japan. 233 p.
Shimizu, M., Y. Nakagawa, Y. Sato, T. Furumai,Y. Igarashi, H. Onaka, R. Yoshida and H. Kunoh. 2000. Studies on endophytic actinomycetes (I) Streptomyces sp. isolated from Rhododendron and its antifungal activity. Journal of General Plant Pathology 66: 360-366.
Stanley, T. W., M. E. Sharpe, J. G. Holt, R. G. E. Murray, J. D. Brenner and J. G. Holt. 1989. Bergey’s Manual of Systematic Bacteriology, Volume 4. Baltimore, MD: William & Wilkins. 432 p.
Taechowisan, T., C. Lu, Y. Shen and S. Lumyong. 2005. Secondary metabolites from endophytic Streptomyces aureofaciens CMUAc130 and their antifungal activity. Microbiology 151: 1691-1695.