การคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมระหว่างคะน้าและ บรอกโคลีที่มีซัลโฟราเฟนสูง

Main Article Content

ญาณี โปธาดี
ศิวาพร ธรรมดี
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

คะน้าและบรอกโคลี เป็นผักที่พบซัลโฟราเฟนที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงได้มีการศึกษาการผสมพันธุ์ข้ามระหว่างคะน้าและบรอกโคลี เพื่อผลิตลูกผสมที่มีปริมาณซัลโฟราเฟนสูง โดยนำคะน้า 3 พันธุ์ได้แก่ Round Leave, Yod Big 456 และ Hong Kong Kuan Au ผสมพันธุ์กับบรอกโคลี 2 พันธุ์ได้แก่ Big Green และ Top Green โดยทำการผสมแบบพบกันหมดและสลับพ่อแม่ พบว่า เมื่อนำเมล็ดลูกผสมที่ได้จากการผสมข้ามระหว่างคะน้าและบรอกโคลีไปเพาะและนำต้นอ่อนที่อายุ 5 วัน มาวิเคราะห์หาปริมาณซัลโฟราเฟนโดย HPLC พบว่าลูกผสม Top Green × Yod Big 456 มีปริมาณซัลโฟราเฟนสูงที่สุดคือ 3.34 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาลักษณะอื่น ๆ เช่น ความสูงของต้น ความกว้างของทรงพุ่ม วันออกดอก และจำนวนเมล็ดต่อฝักอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2552. บรอกโคลี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://as.doa.go.th/hort/ database/framehom_files/vegetable/broccoli.htm (1 กันยายน 2553).

กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2551. ปรับปรุงพันธุ์พืช พื้นฐาน วิธีการ และแนวคิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 465 หน้า.

ณัฐา โพธาภรณ์ อัญชัญ ชมภูพวง ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์ และ วีรพันธ์ กันแก้ว. 2552. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์บรอกโคลีเพื่อผลิตต้นอ่อนที่มีสารซัลโฟราเฟนสูง. วารสารโครงการหลวง 14: 2-6.

ประไพภัทร คลังทรัพย์. 2552. บรอกโคลีต้านมะเร็ง. สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, ปทุมธานี. 12 หน้า.

มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2545. กะหล่ำ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 208 หน้า.

วสันต์ กฤษฏารักษ์. 2544. การปลูกผัก. เกษตรสาส์น, กรุงเทพฯ. 144 หน้า.

สุชีลา เตชะวงค์เสถียร กมล เลิศรัตน์ และ สราวุฒิ บุศรากุล. 2538. รายงานการวิจัย การปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมบรอกโคลี-คะน้าสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 14 หน้า.

สุนทร เรืองเกษม. 2539. คู่มือการปลูกผัก. เกษตรสยาม, กรุงเทพฯ. 128 หน้า.

Cunningham, J. 2007. Broccoli sprouts may help prevent skin cancer. (Online). Available: http://www.indiaedunews.net/Science/Broccoli_sprouts_may_help_prevent_skin_cancer_2312 (November 4, 2010).

Fahey, J.W., Y. Zhang and P. Talalay. 1997. Broccoli sprouts: An exceptionally rich source of inducers of enzymes that protect against chemical carcinogens. Proc. Natl. Acad. Sci. 94: 10367–10372.

Falconer, D.S. 1981. Introduction to quantitative genetics. Longman, London. 340 p.

Health. 2008. Healthcare information directory. (Online). Available: http://www.ihealthdirectory .com/ sulforaphane (August 7, 2011).

Herr, I. and M.W. Buchler. 2010. Dietary constituents of broccoli and other cruciferous vegetables: Implications for prevention and therapy of cancer. Cancer Treat Rev. 36: 377-383.

Jason, M.A., W.F. Mark and W.R. James. 2005. Genetic combining ability of glucoraphanin level and other horticultural traits of broccoli. Euphytica 143: 145–151.

Sivakumar, G., A. Aliboni and L. Bacchetta. 2007. HPLC screening of anti-cancer sulforaphane from important European Brassica species. Food Chemistry 104: 1761–1764.