ผลของสารล้างผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพ หลังการเก็บเกี่ยวของมะนาว

Main Article Content

กฤษณชัย คลอดเพ็ง
ธนะชัย พันธ์เกษมสุข
มณีฉัตร นิกรพันธุ์

บทคัดย่อ

สารล้างผิวผลไม้หลายชนิดได้ถูกนำมาใช้เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านอายุการเก็บรักษาและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะนาว (Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle)  โดยมีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (RCD) มี 4 ซ้ำ  การทดลองประกอบด้วย 8 กรรมวิธีของการล้างผิว คือ ไม่มีการล้าง (ชุดควบคุม)  การล้างด้วยน้ำกลั่น  คลอร๊อกซ์ 1.0% คลอร๊อกซ์ 1.5% คลอร๊อกซ์ 2.0% สารละลายโอโซน 40 มิลลิกรัม/ชั่วโมง สารละลายโอโซน 70 มิลลิกรัม/ชั่วโมง และสารละลายโอโซน 100 มิลลิกรัม/ชั่วโมง  ผลการการศึกษาพบว่า การล้างผลมะนาวด้วยสารละลายโอโซนที่ความเข้มข้นต่าง ๆ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่า  และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับการล้างด้วยสารล้างผิวชนิดอื่น ๆ รวมถึงชุดควบคุมด้วย โดยมีอายุการเก็บรักษามากกว่า 27 วัน  ในขณะที่การล้างผิวด้วยการคลอร๊อกซ์ทุกความเข้มข้นจะทำให้อายุการเก็บรักษาน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ  โดยมีอายุการเก็บรักษาในช่วง 14-17 วัน  นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อล้างผลมะนาวด้วยสารละลายโอโซนยังทำให้คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวหลายอย่างของมะนาวดีกว่าการล้างผลด้วยสารล้างผิวชนิดอื่น ๆ  เช่นเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2544. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 396 หน้า.
ชมภูศักดิ์ พูลเกษ และ เทพนม เมืองแมน. 2540. การใช้โอโซนทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อม: หลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. ไบรท์กรีน เทรดดิ้ง, กรุงเทพฯ. 136 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2534. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 220 หน้า.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 226 หน้า.
ศุภกิจ แก้วถนอม. 2540. การปลูกมะนาว. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 72 หน้า.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, นครปฐม. 364 หน้า.
AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. Association of Official Analystical Chemists, Inc., Arlington, Virginia. 1298 pp.
Graham, D.M. 1997. Use of ozone for food processing. Food Technology 51: 72-75.
Hunt, N.K. and B.J. Marinas, 1999. Inactivation of Escherichia coli with ozone: chemicals and inactivation kinetics. Water Research 33: 2633–2641.
Van Buren, J.P. 1991. Function of pectin in plant tissue structure and firmness. pp. 1–22. In: R.H. Walter (ed.). The Chemistry and Technology of Pectin. Academic Press, Inc., New York.