การศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาของการสร้างหัวกล้วยไม้ดิน นางอั้วสาคริกในสภาพหลอดแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาของการสร้างหัวกล้วยไม้ดินนางอั้วสาคริกในสภาพหลอดแก้ว โดยการนำตัวอย่างต้นอ่อนระยะต่าง ๆ ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในโดยใช้เทคนิคการฝังชิ้นส่วนในพาราฟิน พบว่า การสร้างหัวเริ่มต้นหลังจากที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดอ่อนสร้างจุดกำเนิดใบอ่อนแล้ว หลังจากนั้นมีการแบ่งเซลล์เพื่อเจริญเติบโตออกไปในทิศทางตรงข้ามกับตำแหน่งของโปรโตคอร์ม และเจริญเติบโตเพื่อยืดตัวลงในแนวดิ่งจนกระทั่งอยู่ในระดับความลึกที่เหมาะสม จึงสร้างจุดกำเนิดใบอ่อนชุดใหม่ขึ้นเพื่อหุ้มเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดซึ่งจะเป็นจุดกำเนิดยอดใหม่เมื่อหัวมีการเจริญเติบโตในฤดูกาลต่อไป ขณะเดียวกันมีการแบ่งเซลล์ของกลุ่มเซลล์ที่อยู่ใต้เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดลงในแนวดิ่งต่อไปเพื่อทำให้หัวมีความยาวเพิ่มขึ้น และมีการเจริญเติบโตของเซลล์ออกโดยรอบเพื่อให้เกิดการขยายขนาดของหัวจนกระทั่งได้หัวที่สมบูรณ์
Article Details
References
นิพาพร ชัยทนุ. 2541. การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของกล้วยไม้ดินบางชนิดในสกุลลิ้นมังกร และนางอั้ว. ปัญหาพิเศษปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 44 หน้า.
นิพาพร ชัยทนุ. 2542. การศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเมล็ดและการพัฒนาต้นอ่อนของกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรและนางอั้วสาคริก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 60 หน้า.
ปิยะนุช ปิยะตระกูล. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกและการพัฒนาต้นอ่อนกล้วยไม้ดินลิ้นมังกร (Habenaria rhodocheila Hance). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 171 หน้า.
ภูวดล บุตรรัตน์. 2528. เทคนิคทางพฤกษศาสตร์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี. 213 หน้า.
มัลลิกา นวลแก้ว. 2547. ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกและการพัฒนาต้นอ่อนของกล้วยไม้ดินท้าวคูลูดอกเล็ก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 123 หน้า.
อบฉันท์ ไทยทอง. 2544. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.
Apavatjrut, P. and T. Phornsawatchai. 1995. A study on Brachycorythis helferi (Rchb.F.) Summ. seed germination and protocorm development. The Fifth Asia Pacific Orchid Conference Program and Abstracts. March 11-12, Fukuoka, Japan. O-12.
Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue cultures. Physiologia Pl. 15: 473-497.
Rasmussen, H.N. 1995. Terrestrial Orchids: From Seed to Mycotrophic Plant. Cambridge University Press, Cambridge. 444 pp.
Seidenfaden, G. 1973. Contributions to the Orchid Flora of Thailand V. Botanisk Tidsskrift 68: 41-95.
Vacin, E.F. and F.W. Went. 1949. Some pH Changes in Nutrient Solutions. Bot. Gaz. 110: 605-613.