การผสมข้ามชนิดของเห็ดนางฟ้ากับเห็ดนางฟ้าภูฐาน

Main Article Content

อนุวัฒน์ รัตนชัย
ประสิทธิ์ วัฒนวงศ์วิจิตร
วิเชียร ภูสว่าง

บทคัดย่อ

จากการผสมข้ามชนิดระหว่างเห็ดนางฟ้า (Pleurotus sajor-ciu) และเห็ดนางฟ้าภูฐาน (Pleurotus pulmonarius) โดยการผสมแบบมอน-มอน สามารถให้ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง และมีเนื้อกรอบ คือ HM9 เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตนาน 35 วัน การผสมพันธุ์แบบได-มอน ระหว่างเส้นใยนิวเคลียสคู่ของเห็ดนางฟ้า กับเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวของเห็ดนางฟ้าภูฐาน และผสมกลับไปกลับมา โดยใช้เส้นใยนิวเคลียสคู่ของเห็ดนางฟ้าภูฐานกับเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวของเห็ดนางฟ้า สามารถให้ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง และมีเนื้อกรอบ คือ HDS8 เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตนาน 35 วัน การผสมกลับโดยใช้วิธีผสมแบบได-มอนใช้เส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวจากลูกผสมที่คัดไว้ทั้งห้าสายพันธุ์ และเส้นใยนิวเคลียสคู่จากลูกผสมทั้งห้าและเส้นใยของสายพันธุ์พ่อแม่คือเห็ดนางฟ้าและเห็ดนางฟ้าภูฐาน ได้ลูกผสม 4 สายเชื้อที่ให้ ผลผลิตสูงและคุณภาพดอกดี (DSX15, PY3, SY2 และ SB6) มีลูกผสม 2 สายเชื้อ (SB6 และ SY2) ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผลผลิตทั้งของพ่อแม่ถึง 53.7% และ 46.9% ตามลำดับ


            จากการทดลองความสามารถในการออกดอกโดยเลี้ยงเส้นใยนิวเคลียสคู่ในหลอดทดลองที่บรรจุวัสดุขี้เลื่อยที่ปลอดเชื้อ พบว่า วิธีการนี้สามารถช่วยให้ทราบได้ว่าจากการศึกษาการเจริญเติบโตของเส้นใย พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการให้ผลผลิต ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตของเห็ดลูกผสมนาน 35 วันก็เพียงพอหากพิจารณาในแง่เศรษฐกิจรูปแบบไอโซไซม์ esterase ของเส้นใยเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าภูฐานและเห็ดลูกผสม 17 สายเชื้อ พบว่าแถบสีอยู่ใกล้กันมากจนไม่สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ จากข้างต้นการผสมข้ามชนิดระหว่างเห็ดนางฟ้า (Pleurotus sajor-caju) กับเห็ดนางฟ้าภูฐาน (P. pulmonarius) สามารถผสมกันได้ทั้งแบบมอน-มอนแบบได-มอน และการผสมกลับแบบได-มอน แสดงว่าเห็ดทั้งสองชนิดนี้เป็นเห็ดชนิดเดียวกัน น่าจะเรียกว่า Pleurotus sajor-caju.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา พรเจริญโรจน์. 2543. การปรับปรุงพันธ์เห็ดฟางโดยการผสมพันธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชา พืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 79 น.
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. 2524. การเพาะเห็ดและเห็ดบางชนิดในประเทศไทย. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 188 น.
ปัญญา โพธิฐิติรัตน์. 2537. เทคโนโลยีการเพาะเห็ด. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 421 น.
วสันณ์ เพชรรัตน์. 2536. การผลิตเห็ด. ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 226 น.
วิฑูรย์ พลาวุฑฒิ. 2527. การทำเชื้อและการเพาะเห็ด. คณะพืชศาสตร์ วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษา, กรุงเทพฯ. 199 น.
Chang, S.T. 1982. Sexuality and strain improvement in edible mushroom. Mushroom Newsletter for the Tropics 6(1): 2-6.
Eger, G. 1978. Biology and breeding of Pleurotus ostreatu.s .Mushroom Science IX (part I): 567- 573.
Fritsche, G.1978. Breeding Work, p. 239-250. In S.T. Chang and W.A.Hays (eds). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New York.
Kinugawa, K., P. Wichian., C. Smarn., F. Shuzo., T. Eiji., O. Mieko and T. Hikaru. 1994 .Progress Report (1991-1993) of the Joint Reseach Program of Kinki and Chiang Mai University on the Promotion of Mushroom Research Faculty Agriculture Kinki University. 27: 93-113.
Raper, J.R. 1978. Sexuality and breeding, p. 83-117. In S.T. Chang and W.A. Hays (eds.). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New York.
Royse, D.J. and May. B .1981. Multilocus Enzyme Electrophorecis for the Genetic Analysis of Edible Mushrooms, 228 p. In Chang, S.T., J.A. Buswell and P.G. Miles. 1993. Genetic and Breeding of Ediblc Mushroom. OPA (Amsterdam) B.V., Netherlands.
Simchen, G.1965. Monokaryotic Variation and Haploid Selection in Schizophyllum commune. Department of Genetics, University of Birmingham, Alabama.