ผลผลิตและคุณภาพของท้อในต่างพื้นที่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ได้มีการศึกษาปริมาณผลผลิตและคุณภาพของท้อ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์เออลิแกรนด์ ฟลอดาแบลล์และฟลอคาซัน โดยมีท้อพื้นเมืองพันธุ์อ่างขางแดงเป็นตัวเปรียบเทียบ ภายใต้การปลูกในพื้นที่ต่างกัน 3 แห่ง ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 จากการวิเคราะห์ผลผลิตและคุณภาพโดยละเอียดแล้ว ผลปรากฏว่า ปริมาณผลผลิตและคุณภาพของท้อที่ปลูกในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน ที่ สถานีฯอ่างขางสมควรปลูกท้อพันธุ์เออลิแกรนด์มากที่สุด เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตสูง (9.66 ก.ก./ต้น) และท้อมีรสชาติดี (TSS-TA 21.14) รองลงมาคือพันธุ์ฟลอดาแบลล์ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตสูง (10.94 ก.ก./ ต้น) แต่มีข้อเสียคือ รสชาติไม่ดี (TSS-TA11.00) ส่วนพันธุ์ฟลอดาซันนั้น ไม่สมควรปลูก เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตต่ำ (5.91 ก.ก./ต้น) และมีรสชาติไม่ดี (TSS: TA 8.60)
ที่ศูนย์ฯอินทนนท์สมควรปลูกท้อพันธุ์เออลิแกรนด์เช่นกัน เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตค่อนข้างสูง (9.94 ก.ก./ต้น) มีน้ำหนักผลค่อนข้างมาก (105.67 กรัมต่อผล) และมีรสชาติดี (TSS: TA 20.86) รองลงมาคือฟลอดาซัน เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตสูง (13.43 ก.ก./ต้น) รสชาติค่อนข้างดี (TSS-TA 15.67) แต่มีข้อเสียคือน้ำหนักผลน้อย (82.44 กรัมต่อผล) ส่วนพันธุ์ฟลอดาแบลล์นั้นไม่สมควรปลูก เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตต่ำ (6.18 ก.ก./ต้น) และมีรสชาติไม่ดี (TSS: TA 12.59) ถึงแม้จะมีน้ำหนักผลสูง (170.21 กรัมต่อผล)
ที่ศูนย์ฯแม่ปูนหลวงสมควรปลูกพันธุ์เออลิแกรนด์เท่านั้น เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ (10.15 ก. ก. ต้น) น้ำหนักผลค่อนข้างมาก (95.09 กรัมต่อผล) และมีรสชาติค่อนข้างดี (TSS: TA 14.86) ส่วนพันธุ์ฟลอดาแบลล์และพันธุ์ฟลอดาซันนั้นไม่สมควรปลูก เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตต่ำ (4.80 และ 5.94 ก.ก./ ต้น ตามลำดับ) และรสชาติของท้อไม่ดี (TSS: TA 12.24 และ 12.84 ตามลำดับ)
Article Details
References
ดนัย บุณยเกียรติ. 2534. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 214 น.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. 2536. คู่มือการปลูกไม้ผลเขตหนาวที่สำคัญ 5 ชนิด : บ๊วย ท้อ พลัม สาลี่ และพลับ. ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 85 น.
นิรันดร์ จันทวงศ์. 2524. ระยะเวลาการตัดแต่งกิ่งที่มีอิทธิพลต่อลักษณะบางประการของท้อ (Prunus persica) พันธุ์ฟลอดาแบลล์และพันธุ์ฟลอดาซัน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 110 น.
สมบูรณ์ เตชะภิญญาวัฒน์. 2538, สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 203 น.
อมร นราวงศานนท์, สุรพล จารุพงศ์ และพยุห์ แก้วคูณ. 2532. ไม้ผลสำหรับที่สูง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด , กรุงเทพฯ. 17 น.
Campbell, J.A., A.P.George and R.J.Nissen. 1995. An overview of the Australian low-chill stone fruit industry. Acta Horticulturae 409: 47-66.
Childers, N.F. 1983. Modern Fruit Science: Orchard and Small Fruit Culture. Horticultural Publications, Florida. 583 p.
Faust, M. 1989. Physiology of Temperate Zone Fruit Trees. John Wiley and Sons, Inc., Vancuver. 338p.
George, A.P., S. Hieke, T. Rusmussen and P. Ludders. 1996. Early shading reduce fruit yield and late shading reduces quality in low-chill peach (Prunus persica L. Batsch) in subtropical Australia. Hort. Abstr. 66 (11): 1165(9286).
Johnson, R.S. and A. Handley. 1989. Thinning response of early, mid and late season peaches. J. Amer. Soc. Hort. Sci., 114(6): 852-855.
Johnson R. S. and T. Rumussen. 1990. Peaches thinning optimisation model. Acta Horticulturae 276: 274 255.
Kader, A.A. 1992. Postharvest Technology of Horticultural Crops. University of California, California. 296p.
Pavel, E.W. and T.M. Dejong. 1993. Estimating the photosynthetic concentration of developing peach (Prunus persica) fruit to their growth and maintenance carbohydrate requirement. Hort. Abstr.65(5): 258(3784).
Rom, C.R. 1990. Light distribution and photosynthesis of apple tree canopies. Acta Horticulturae 279: 283-290.
Rouse, R.E. 1989. Peach and nectarine for Texas's subtropical lower Rio Grande Valley. Fruit Var.J. 43(2): 52-57.
Rowe, R.N. and R. Johnson. 1992. The interaction between fruit number, fruit size and the yield and the size of Fantasia nactarine. Acta Horticulturae 315: 171-176.
Salunkha, D.K. and S.S. Kadam. 1995. Handbook of Fruit Science and Technology. Marcel Denkker, Inc., New York. 611p.
Teskey,B.J.E. and J.S.Shoemaker. 1978. Temperate Fruit Production. The AVI Publishing Company Inc., Westport, Conecticut. 409 p.
Westwood, M.N. 1978. Temperate-Zone Pomology. W.H. Freeman and Company, San Francisco. 404p: