การแพร่กระจายและความเสียหายของลำไยที่เป็นโรคหงอยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

Main Article Content

ชาตรี สิทธิกุล
จริยา วิสิทธิ์พานิช
วิชชา สอาดสุด

บทคัดย่อ

จากการสำรวจแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ 15 พื้นที่ และจังหวัดลำพูน 28 พื้นที่เพื่อศึกษาปริมาณการแพร่กระจาย และความเสียหายของลำไยที่เป็นโรคหงอย พบว่าการแพร่กระจายของโรคหงอยมีเกือบทุกพื้นที่ ๆ ทำการสำรวจโดยพบต้นลำไยแสดงอาการหงอยในจังหวัดเชียงใหม่ 41% และจังหวัดลำพูน 33% สภาพสวนลำไยที่แสดงอาการหงอยมีลักษณะแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง  บางแห่งเป็นที่ดอนซึ่งมักจะขาดน้ำในฤดูแล้ง สวนบางแห่งไม่มีการบำรุงหลังเก็บผลผลิต สวนบางแห่งเป็นลำไยที่มีอายุมากและไม่มีการจัดการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคหงอย ยังไม่ได้พิสูจน์ในขณะนี้


การศึกษาความผิดปกติของลำไยที่แสดงอาการหงอยโดยเลือกสวนลำไยที่แสดงอาการหงอยจำนวน 6 สวนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เพื่อวัดขนาดใบของต้นที่เป็นโรคหงอยเปรียบเทียบกับต้นปกติ ผลปรากฏว่าต้นลำไยที่เป็นโรคหงอยทุกแห่งมีขนาดของใบลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับใบจากต้นปกติ โดยที่ความแตกต่างดังกล่าวเชื่อมั่นได้ 99%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Agrios, G. N. 1988. Plant Pathology. Academic Press, Inc., New York. 803 pp.
Hsiao, T. C. 1973. Plant responses to water stress. Ann. Rev. Plant Physiol. 24: 519-570. Schoeneweiss, D. F. 1981. The role of environmental stress in diseases of woody plants. Plant Disease 65: 308-314.
Schutt, P. and E. B. Cowling. 1985. Waldsterben, a general decline of forests in Central Europe: symptoms, development and possible causes. Plant Disease 69: 548-558.
Tisdale, S. L. and W. L. Nelson. 1966. Soil Fertility and Fertilizers. The Macmillan Company, New York, U.S.A. 694 pp.