การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดจากรากหญ้าแฝกที่มีต่อหนอนใยผัก

Main Article Content

อุดมพร แพ่งนคร

บทคัดย่อ

จากการนำเอารากหญ้าแฝกชนิดแฝกหอม Vetiver zizanioides (Linn.) มาสกัดสารออกฤทธิ์ในรูปของน้ำมันหอมระเหย ด้วยวิธีกลั่นด้วยไอน้ำ และนำสารที่สกัดได้มาทำการทดสอบกับหนอนใยผักวัย 3 ทั้ง 2 วิธี คือ Topical application (ถูกตัวตาย) และ Feeding method (กินตาย) จากการตรวจวัดผลการตายของหนอนทั้ง 2 วิธีทุกวันเป็นเวลา 4 วัน พบว่าสารสกัดจากรากหญ้าแฝกในระดับความเข้มข้นของสาร 100% สามารถทำให้หนอนใยผักตายได้ถึง 37.14% โดยวิธีถูกตัวตายและ 51.52% โดยวิธีกินตาย ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดที่ต่ำตั้งแต่ 90% ลงมาจนถึง 40% สามารถทำให้หนอนตายได้ไม่ต่างกันนักทั้ง 2 วิธี และที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัดต่ำตั้งแต่ 30% ลงมาจะไม่มีผลต่อการตายของหนอน อย่างไรก็ตามเมื่อสังเกตปฏิกิริยาของหนอนที่รอดตายจนเข้าดักแด้ได้ ดักแด้มักจะอ่อนแอและตายลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเข้มข้นของสารสูง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จเร สดากร. 2535. แฝกหอม หญ้าแฝก. กสิกร 65 (2): 135-140.
รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล สุรัตน์วดี จิวะจินดา สุรพงษ์ สวัสดิ์พาณิชย์ และราเชนทร์ ถิรพร. 2538. การใช้สารสกัดจากรากหญ้าแฝกในการควบคุมเห็บโค. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33. หน้า 460-466.
Chungsamaryart, N. and S. Jiwajinda. 1992. Acaricidal activity of volatile oil from lemon and citronella grasses on tropical cattle ticks. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 26: 52-56.
Jotwani, M.G. and K.P. Srivastava. 1981. Neem: insecticide of the future-II. Pesticide 15(11): 4047.
Miyata, T., N. Sinchaisri, B. Sayampol, W. Rushtapakornchai and A. Vattanatagum. 1988. Insecticide resistance patterns. Page 10-19. In Report meeting of the joint research project during March 19-21, 1988 at Rama Garden Hotel, Bangkok, Thailand
Sinchaisri, N., D. Roongsook and S. Areekul. 1988. Botanical repellent against the diamond back moth, Plutella xylostella L. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 22(5): 71-74