การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของแม่กระต่ายสายพันธุ์ซิคกา-เซดนิวซีแลนด์ไวท์และพื้นเมืองในแง่การให้ลูก ความสามารถสาในการเลี้ยงดูลูก และต้นทุนการผลิตเมื่อผสมกับพ่อกระต่ายสายพันธุ์ชิคกา-เซด

Main Article Content

ศิริลักษณ์ พรสุขศิริ
ธีระ วิสิทธิ์พานิช

บทคัดย่อ

การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแม่กระต่ายสายพันธุ์ชิคกา-เซดพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ และพันธุ์พื้นเมืองสีเทา (บางฟาร์มเรียกว่าพันธุ์ชินชิลล่า) ในแง่ของน้ำหนักตัวและการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ตั้งแต่แม่ผสมติดจนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอดลูกสมรรถภาพในการให้ลูกและการเลี้ยงดูลูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหย่านมเมื่อ 6 สัปดาห์ รวมทั้งประสิทธิภาพในการใช้อาหารและต้นทุนการผลิตเมื่อ 6 สัปดาห์ได้กระทำที่ฟาร์มกระต่ายของภาควิชาสัตวบาลคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ช่ วงระหว่างเดือนตุลาคม 2531 ถึง ตุลาคม 2532 โดยใช้แม่กระต่ายสาวพันธุ์ชิคกา-เชคจำนวน 21 ตัวพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์จำนวน 18 ตัวและพันธุ์พื้นเมืองสีเทาจำนวน 19 ตัวโดยใช้พ่อกระต่ายพันธุ์ชิคกา-เซดเป็นพ่อพันธุ์และติดตามผลการทดลองจนแม่กระต่ายแต่ละตัวให้ลูกครอกที่ 2 ผลจากการศึกษาพบว่าแม่กระต่ายพันธุ์ชิคกา-เซดมีน้ำหนักเมื่อผสมติดครั้งแรกสูงกว่าแม่กระต่ายพันธุ์พื้นเมืองและนิวซีแลนด์ไวท์อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P <.01) การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวของแม่กระต่ายตั้งแต่ผสมติดถึงคลอดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าแม่กระต่ายพันธุ์พื้นเมืองมีน้ำหนักเพิ่มมากที่สุด ระยะเวลาในการตั้งท้องของแม่กระต่ายพันธุ์ซิคกา-เซดนานกว่าอีกสองสายพันธุ์ (p <.01) จำนวนลูกต่อครอกเมื่อแรกเกิดของทั้งสามพันธุ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่าแม่กระต่ายพื้นเมืองจะให้ลูกดกที่สุดและแม่กระต่ายซิคกา-เซด ให้ลูกที่มีน้ำหนักเฉลี่ยแรกเกิดมากที่สุด (P <.01) ในช่วงอายุ 3 สัปดาห์น้ำหนักลูกและจำนวนลูกต่อครอกของแม่กระต่ายแต่ละพันธุ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในช่วงหย่านม (เมื่อ 6 สัปดาห์) จำนวนลูกต่อครอกของแม่กระต่ายพันธุ์ชิคกาเซด ต่ำกว่าพันธุ์พื้นเมือง (P <.01) แต่น้ำหนักเฉลี่ยของลูกกระต่ายยังคงมีแนวโน้มหนักกว่าของพันธุ์อื่นในด้านการกินอาหารพบว่าปริมาณวัตถุแห้งที่แม่กระต่ายกินได้ทั้งหมดจากมากไปหาน้อย ได้แก่ พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์พันธุ์ซิคกา-เซด และพันธุ์พื้นเมืองสีเท่าโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P <.01) ระหว่างแม่กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์และพันธุ์พื้นเมืองสีเทา แต่เมื่อคิดเป็นปริมาณโปรตีนที่ได้รับพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติในทุกสายพันธุ์เมื่อคำนวณเป็นต้นทุนอาหารข้นต่อการผลิตลูกกระต่าย 1 ตัวหรือ 1 กก. เมื่อถึงช่วงหย่านมพบว่า แม่กระต่ายพันธุ์พื้นเมืองสีเทามีต้นทุนการผลิตต่ำสุดตามด้วยพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์และซิคกา-เซด ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัณฑุชัย, สมศักดิ์ และ ต้นพิพัฒน์, ทรงศักดิ์. (2527), การศึกษาสมรรถภาพการให้ผลผลิตของ 21 กระต่ายพื้นเมืองและกระต่ายลูกผสมแคลิฟอร์เนียน. ว. เกษตรพระจอมเกล้า. 2 (2) -40-46
บัณฑุชัย, สมศักดิ์ และ วรจันทรา, ศรีสกุล. (2530). สมรรถภาพการผลิตของแม่และลูกกระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์และลูกผสมแคลิฟอร์เนียน. ว. แก่นเกษตร. 15 (5): 225-235.
พรพจน์ศุภกิจ, สุวรรณา., ศรีพรหมมา, จุฑารัตน์ และ วรวรรณ, ชวนิศนดากร. (2523 ก). การศึกษาการผลิตกระต่ายเนื้อในประเทศไทย (1) ศึกษาคุณสมบัติในทางความเจริญเติบโตการใช้อาหาร และการตายของกระต่ายลูกผสมกระต่ายไทยกับพันธุ์ต่างประเทศ. รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 18 สาขาสัตว์, กรุงเทพฯ
พรพจน์ศุภกิจ, สุวรรณา., ศรีพรหมมา, จุฑารัตน์ และ วรวรรณ, ชวนิศนดากร. (2523 ข). การศึกษาการผลิตกระต่ายเนื้อในประเทศไทย (2) การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตการใช้อาหารและอัตราการตายของกระต่ายลูกผสมเลือดนิวซีแลนด์ไวท์เปอร์เซนต์แคลิฟอร์เนียน 75 เปอร์เซนต์กับกระต่ายพื้นเมือง. รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 18 สาขาสัตว์. กรุงเทพฯ
พรพจน์ศุภกิจ, สุวรรณา., ศรีพรหมมา, จุฑารัตน์ และ วรวรรณ, ชวนิศนดากร. (2523 ค). การศึกษาการผลิตกระต่ายเนื้อในประเทศไทย (3) ศึกษาการเจริญเติบโตการใช้อาหารและอัตราการตายของกระต่ายลูกผสมเลือดนิวซีแลนด์ไวท์ 87.5 เปอร์เซ็นต์ แคลิฟอร์เนียน 87.5 เปอร์เซ็นต์ กับกระต่ายพื้นเมือง. รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 18 สาขาสัตว์. กรุงเทพฯ
โพธิ์ศรี, สังเวียน. (2520). การศึกษาคุณภาพซาก และส่วนประกอบเนื้อกระต่าย ว. วิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 3(8): 1 16- 122.
เรียวเดชะ, จันทร์จรัส และ กิจภาภรณ์, สุวรระว่า. (2531). การศึกษาภาพแม่พันธุ์ของกระต่ายพื้นเมืองและนิวซีแลนด์ไวท์. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 26 สาขาสัตว์ กรุงเทพฯ 18
A.O.A.C. (1975). Official Methods of Analysis of the Association of Official Agriculture Chemists. Association of Official Agriculture Chemists, Washington, D.C.
De Blas, J.C. and Galvez, J.F. (1973). Indice for estimating milk production in Spanish Giant rabbits. Serie Production Animal. No. 4-25.
Khalil, M.H.E. (1986). Estimation of genetic and phenotypic parameters for some productive traits in rabbits. Ph.D. Thesis. Faculty of Agricultrue at Moshtohor, Zagagig University, Egypt.
Lebas, F. (1969). Quantitative measurement of milk production in rabbits. Ann. Zootechnic. 17: 169.
Lukefahr, S., Hohenboken, W.D. , Cheeke, P.R. and Patton, N.M. (1983a). Doe repro duction and preweaning litter performance of straightbred and crossbred rabbit. J. Anim. Sci. 57: 1090.
Lukefahr, S., Hohenboken, W.D., Cheeke, P.R. and Patton, N.M. (1983b). Characterization of straightbred and crossbred rabbits for milk production and associative traits. J. Anim. Sci. 57: 1100.
Niehaus, H. and Kocak, C. (1973). Milk production tests with Californian Does. Arch. fur Geflugelkunde. 3: 102.
Schlolaut, W. (1981). The production capacitv of rabbits in meat and wool. Anim. Res. and Dev. 14: 72-79.
Steel, R.G.D. and Torrie, J.H. (1966). Principle and Procedures of Statistics. McGraw-Hill Book Company, New York.