การใช้เมล็ดถั่วมะเเฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 3. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน/พลังงานในอาหารไก่ไข่

Main Article Content

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
โรเบิร์ต อิเลียต

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ถั่วมะแฮะบุคระดับต่างๆ ในอาหารไก่ไข่ เพื่อให้ทราบถึงสมรรถภาพการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ เมื่อใช้อาหารที่มีถั่วมะแฮะระดับร้อยละ 0, 10, 20, 30, 35 หรือ 40 แทนที่ข้าวโพดและกาก ถั่วเหลือง ในสูตรอาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 16 และพลังงานใช้ประโยชน์ 2,800 กิโลแคลอรี่ / กก.เท่ากันทุกกลุ่ม โดยทําการทดลองในไก่ไข่พันธุ์โกลเด้นฮับบาร์ด อายุ 25 สัปดาห์ จํานวน 192 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ เลี้ยงบน กรงตับแบบขังเดี่ยว มีน้ำและอาหารกินตลอดเวลา และได้รับแสงสว่างวันละ 16 ชั่วโมง ตลอด ระยะเวลาการทดลอง 84 วัน ในแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ปรากฏว่าผลผลิตไข่ของแม่ไก่กลุ่มที่ได้รับอาหาร ที่มีถั่วมะแฮะระดับ 20% หรือมากกว่า ให้ผลลดลงตามระดับการเพิ่มขึ้นของถั่วมะแฮะในสูตรอาหาร โดยการ ใช้ถั่วมะแฮะที่ระดับ 10% ให้ผลผลิตไข่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (84.88 เปรียบเทียบกับ 86.50% ตาม ลําดับ) ปริมาณการใช้อาหารต่อการผลิตไข่ 1 โหล ของแม่ไก่กลุ่มที่ได้รับถั่วมะแฮะระดับ 35 หรือ 40% มีปริมาณ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P< 0.05) ส่วนกลุ่มที่ได้รับถั่วมะแฮะระดับ 10, 20 หรือ 30% ในสูตรอาหาร มีปริมาณการใช้อาหารต่อการผลิตไข่ 1 โหล เท่ากับ 1.51, 1.50 หรือ 1.61 กก. ตามลําดับ โดยไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (1.47 กก.) สําหรับปริมาณอาหารที่กินและคุณภาพไข่ ไม่มีความแตกต่าง ระหว่างการใช้หรือไม่ใช้ถั่วมะแฮะในสูตรอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทลักขณา, จรัญ. (2523.) สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. บริษัทสํานักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จํากัด. กรุงเทพ.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. (2531). การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก. 1. ค่าพลังงานใช้ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนะของถั่วมะแฮะ. รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 26 กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน. และ อิเลียต, โรเบิร์ต. (2531). การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 2.ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน/ พลังงานในอาหารไก่เนื้อ. รายงานการประชุมทาง วิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 26. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Doran, B.H., Krueger W.F. and Bradley, J. W. (1982). The feasibility of phase feeding sulphur amino acid to egg production stock during the laying period. poultry Sci. 61(7):1453.
Drapper, C.I.(1944). Algarroba beans, pigeonpea and processed garbage in the laying mash. Cited by Whiteman, P.C. and B.W. Norton. 1980. Alternative uses for pi geonpea. In "Proceedings of the International Workshop on Pigeonpeas." ICRI SAT, Patancheru, India. Vol. 1. pp 365-377.
Jambunathan, R. and Singh, U. (1980). Grain quality of pigeonpea. In "Proceedings of the International Workshop on Pigeonpeas." ICRISAT, Patancheru, India. Vol. 1, pp 351-356.
Khayambashi, H. and Lyman, R.L. (1966). Growth depression and pancreatic and intestinal changes in rats force-fed amino acid diets containing soybean trypsin inhibitor. J. Nutr. 89:455-464.
Lyman, R.L. and Lepkovsky, S.(1957). The effect of raw soybean meal and trypsin inhibitor diets on pancreatic enzyme secretion in the rat. J. Nutr. 62:269-284.
National Research Council.(1984). Nutrient requirements of poultry, 8-th edi. Washington, D.C. : National Academy Press.
Nesheim, M.C. and Garlich, J.D.(1966). Digestibility of unheated Soybean meal for laying hens. J.Nutr. 88:187-192.
Shannon, D.W.F. and Whitehead, C.C.(1974). Lack of a response in egg weight or output to increasing levels of linoleic acid in practical layer 's diets. J. Sci. Food Agric. 25:553-561.
Springhall, J., Akinola, J.O. and Whiteman, P.C.(1974). Evaluation o (Cajanus cajan) meal in chicken ration. Cited by Whiteman, P.C. and B.W. Norton. 1980. Alternative uses for pigeonpea. In "Proceedings of the International Workshop on Pigeonpeas, " ICRISAT, Patancheru, India. Vol.1 pp 365-377.
Visitpanich, T., Batterham E.S. and Norton, B.W.(1985). Nutritional value of chickpea (Cicer arietinum) and pigeonpea (Cajanus cajan) meals for growing pigs and rats. I. Energy content and protein quality. Aust. J. Agric. Res. 36:327-335.