การศึกษาคุณภาพซากโคขุนขาวลำพูน 1. การศึกษาเปรียบเทียบการตัดแต่งซากแบบไทยและสากล

Main Article Content

สัญชัย จตุรสิทธา
นิรันดร โพธิกานนท์
โชค มิเกล็ด

บทคัดย่อ

การศึกษาการเปรียบเทียบการตัดแต่งซากโคขุนขาวลำพูนแบบไทยและแบบสากลโดยใช้โคเพศผู้จำนวน 8 ตัวอายุประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านการขุนจนได้น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัมอาหารประกอบด้วยหญ้าสดและอาหารข้น 70% ของน้ำหนักแห้งซึ่งมีโปรตีน 15% และพลังงานในรูป TDN 76% โดยโคจะได้รับอาหารข้น 1% ของน้ำหนักตัวและหญ้าสดเต็มที่พบว่าโคขุนขาวลำพูนมีเปอร์เซ็นต์ซาก 55.77% พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน 54.92 ตารางเซ็นติเมตรน้ำหนักมีชีวิตก่อนฆ่าและน้ำหนักซากเย็นเฉลี่ยเป็น 301 และ 167.88 กิโลกรัมตามลำดับข้อมูลชิ้นส่วนใหญ่ของซากพบว่าเปอร์เซ็นต์ของไหล่สันอกสันหลังสันสะเอวและขาสะโพกเป็น 27.45, 8.03, 6.66, 7.10 และ 23.45% ตามลำดับโคขุนขาวลำพูนมีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงรวมไขมันกระดูกและเศษเนื้อเป็น 47.28, 13.88, 14.40 และ 8.83% ตามลำดับสีเนื้อโคขุนลำพูนอยู่ในเกณฑ์ปกติและมีแนวโน้มปริมาณไขมันแทรกสูง แต่ความหนาของไขมันหุ้มซากมีพอประมาณคือ 0.21 นิ้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไข่คำ, สกล. (2522), อิทธิพลของพันธุ์ อายุ เพศ และการตอนที่มีผลต่อซาก และส่วนประกอบของซากรวมทั้งแนวทางการตลาดโคเนื้อในภาคกลาง วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จันทลักขณา, จรัญ (2526). สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด . กรุงเทพฯ. 468 น.
คันธพนิต, ชัยณรงค์. (2529). วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์, บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด . กรุงเทพฯ. 276 น.
คันธพนิต, ชัยณรงค์., จตุรสิทธา, สัญชัย., ฟ้ารุ่งสาง, สุพัตร์และชัยรัตนายุทธ, พรศรี. (2531) การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพซาก ระหว่างโคขุนพื้นเมืองและ ลูกผสมบราห์มัน X พื้นเมือง. รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 28 มหาวิทยาลัยเกษตรศษสตร์, กรุงเทพฯ.
จตุรสิทธา, สัญชัย. (2530), การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพซากและคุณสมบัติทางเคมีบางประการระหว่างโคขุนพื้นเมืองและลูกผสมบราห์มัน X พื้นเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ดวงพัตรา, ประเทศ. และรัตนรณชาติ, สุวัฒน์. (2527) การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับคาริโอไทป์ของโคขาวลำพูน. จุลสารโค-กระบือ 7 (2): 37-42.
ยอดเศรณี, สมจิตต์, รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, สุนทราภรณ์. และ อุตรยะวงศ์, รัตนะ. (2506) รายงานเบื้องต้นการทดลองผสมโคเนื้อ. รายงานการประชุมวิชาการสาขาสัตว์ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
รัตนรณชาติ, สุวัฒน์. (2517). ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของโค-กระบือไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศิริสื่อสุวรรณ, สมชาติ (2529), ประกวดโคพื้นเมือง“ ขาวลำพูน” ครั้งที่ 3. วารสารสัตว์เศรษฐกิจ 3 (43): 62- 65.
สงค์ประเสริฐ, จีรสิทธิ์. (2517), ลักษณะและการทำลายโค-กระบือจากภาคต่าง ๆ ในฤดูกาลต่าง ๆ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2531). การผลิตการตลาดโคขุน. กองวิจัยเศรษฐกิจ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อินทรมงคล, จินตนา., คันธพนิต, ชัยณรงค์., หุตานุวัตร์, ณรงค์., สิรินันทเกตุ, เกษรินทร์., และ สอนบุญลา, โสวัฒน์. (2523) การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะซากโคกระบือที่เลี้ยงด้วยอาหารยูเรียและมันเส้นเป็นหลัก. รายงานการประชุมวิชาการเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ครั้งที่ 19 สาขาสัตว์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Butterfield, R.M. (1968). Growth patterns of bovine muscle, fat and bone. J. Anin Sci. 27: 611-625.
Forrest, JC., Aberle, E.D. , Hedrick, HB., Judge, M.D. amd Merkel, RA (1975). TE Principle of Meat Science. Sanfrancisco: W.H. Freeman and Co. 717 p.
Meat Evaluation Handbook, 1987. National Livestock and Meat Board. Chicago U.S.A. 70 p.
Price, J.F. and Schweigert, B.S. (1971). The Science of Meat and Meat Produc Sanfrancisco: W. H. Freeman and Co. 660 p.