การยอมรับอาหารข้าวสาลีประยุกต์ ในพื้นที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

Main Article Content

อรุณี อภิชาติสรางกูร
สากันย์ สุวรรณการ

บทคัดย่อ

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและใช้ประโยชน์จากข้าวสาลี ได้ทําการสาธิตและฝึกอบรมผู้ปลูกและไม่ปลูกข้าวสาลี เพื่อให้รู้จักทําอาหารเสริมข้าวสาลีที่ปลูกในท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ เช่น แป้ง เมล็ด หรือเมล็ดบดหยาบโดยทําจากเมล็ดติดรำ จากการประเมินผลการยอมรับอาหาร 30 ชนิด โดยสุ่มตัวอย่างขนาด 40 พบว่าในจํานวนผู้เข้าอบรมทั้งหมด มี 35% ปลูกข้าวสาลี โดยในกลุ่มที่ปลูกข้าวสาลีนี้มีความประสงค์ที่ ต้องการปลูกเพิ่มเพื่อช่วยเสริมรายได้ 50% ส่วนผู้ที่ไม่เคยปลูกเป็นจํานวน 65% มีความเห็นที่ต้องการปลูกเพื่อเก็บ ไว้บริโภค 26.92% เพื่อเพิ่มรายได้ 15.38% ในผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมดมีประชากร 79.5% ที่ได้รับความรู้ จากการอบรมตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีประยุกต์ที่ได้รับการยอมรับมาก ได้แก่ บะหมี่ และน้ำพริกเผา


ดังนั้นในแผนดําเนินการขั้นต่อไปควรส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูก, ปรับปรุงชนิดของอาหารที่ใช้ฝึกอบรมให้สามารถจําหน่ายได้ และส่งเสริมให้มีตลาดรับซื้อข้าวสาลีเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Belitz, H.D. and Grosch, W. (1987). Food Chemistry Translation from the second German Edition by Hadziyev, D., Springer Verlag Berlin Heidelberg pages 496-497.
Cummings, J.H. (1979). Some Aspects of Dietary Fibre Metabolism in the Human Gut. Food And Health Birch, G.G. Applied Science Publishers pages 441-451.
Hoseney, R.C. (1986). Principles of Cereal Science and Technology. The American Association of Cereal Chemists Inc. pages 1-19 ,89-92.
San Buenaventura, M.L., Dong, F.M. and Rasco, B.A. (1987). The total Dietary Fiber Content of Wheat, Corn, Barley, Sorghum, and Distillers' Dried Grains with Solubles American Association of Cereal Chemists Inc. vol 64 No. 2 page 135.