การวิเคราะห์พันธุกรรมของกล้วยไม้รองเท้านารีแดงสิงขร

Main Article Content

วิชรุจญ์ ทองคำ
ณัฐา โพธาภรณ์
ฉันทลักษณ์ ติยายน
วีณัน บัณฑิตย์

บทคัดย่อ

กล้วยไม้รองเท้านารีแดงสิงขรจัดเป็นรองเท้านารีสายพันธุ์ใหม่ในสกุลย่อย Brachypetalum ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2560 ลักษณะใบและดอกมีความใกล้เคียงกับรองเท้านารีเหลืองสิงขร งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคอาร์เอพีดี (random amplified polymorphic DNA) เพื่อเปรียบเทียบรองเท้านารีแดงสิงขรกับรองเท้านารีอีก 10 สายพันธุ์ในสกุลย่อยเดียวกัน เมื่อคัดกรองไพรเมอร์ 30 ไพรเมอร์ พบว่า 7 ไพรเมอร์ ให้แถบดีเอ็นเอที่ชัดเจนและมีรูปแบบต่างกันขนาด 180 - 2000 คู่เบส การคำนวณค่าดัชนีความเหมือนด้วยโปรแกรม NTSYS (เวอร์ชัน 2.2) โดยวิธีจัดกลุ่ม UPGMA พบว่า สามารถจัดกลุ่มรองเท้านารี 11 สายพันธุ์ในสกุลย่อย Brachypetalum ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ 4 กลุ่มย่อย โดยมีค่าดัชนีความเหมือน 0.400 - 0.850 ความต่างทางพันธุกรรมมีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของดอกในแต่ละสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ดอกภายในกลุ่มย่อยมีลักษณะทั่วไปบางประการร่วมกัน จากแผนภูมิความสัมพันธ์ พบว่า รองเท้านารีเหลืองปราจีนและรองเท้านารีเหลืองอุดรมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากที่สุด มีค่าดัชนีความเหมือน 0.850 ส่วนรองเท้านารีแดงสิงขรและรองเท้านารีเหลืองสิงขรมีค่าดัชนีความเหมือน 0.663 ดังนั้น การใช้เทคนิคอาร์เอพีดีสามารถประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของรองเท้านารีแดงสิงขรกับรองเท้านารีสายพันธุ์อื่นในสกุลย่อย Brachypetalum ได้ การศึกษาโครโมโซมของรองเท้านารีแดงสิงขรด้วยวิธี Feulgen squash พบว่า มีจำนวนโครโมโซม 2n = 26 ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการจัดจำแนกพืชและการปรับปรุงพันธุ์ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chung. S.Y., S.H. Choi, M.J. Kim, K.E. Yoon, G.P. Lee, J.S. Lee and K.H. Ryu. 2006. Genetic relationship and differentiation of Paphiopedilum and Phragmipedium based on RAPD analysis. Scientia Horticulturae 109(2): 153-159.

Cribb, P.J. 1998. The Genus Paphiopedilum. 2nd ed. Natural History Publications (Borneo) Sdn. BHd., Kota Kinabalu, Sabah. 427 p.

Doyle. J.J. and J.L. Doyle. 1990. Isolation of plant DNA from fresh tissue. Focus 12(1): 13-15.

Duangkhet. M., N. Potapohn and W. Bundithya. 2014. Genetic relationship analysis of dwarf Doritis pulcherrima Lindl. by RAPD and ISSR techniques. Journal of Agriculture 30(2): 99-109. (in Thai)

Górniak, M., D.L Szlachetko, A.K. Kowalkowska, J. Bohdanowicz and C.X. Canh. 2014. Taxonomic placement of Paphiopedilum canhii (Cypripedioideae; Orchidaceae) based on cytological, molecular and micromorphological evidence. Molecular Phylogenetics and Evolution 70: 429-441.

Iamwiriyakul, P. 2006. Paphiopedilum thaianum, a new species of Paphiopedilum from Thailand. The Orchid Review 114(1271): 278-281.

Koopowitz, H. 2008. Tropical Slipper Orchids: Paphiopedilum and Phragmipedium Species and Hybrids. Timber Press Ins., Portland, Oregon. 411 p.

Koopowitz. H., P. Iamwiriyakul and S. Laohapatcharin. 2017. Paphiopedilum myanmaricum, a new species of slipper orchid (Cypripedioideae, Orchidaceae). Phytotaxa 324(1): 97-100.

Koopowitz. H., P. Iamwiriyakul and S. Laohapatcharin. 2018. Paphiopedilum myanmaricum, a new species of slipper orchid (Cypripedioideae, Orchidaceae). Orchid Digest 82(1): 10-15.

Renz, J. 2011. Renziana Vol.1: Paphiopedilum. Swiss Orchid Foundation. Friedrich Reinhardt Verlag, Basel. 100 p.

Sanpote, P. 2009. Chromosome numbers and karyotypes of some Orchidaceae genus Paphiopedilum in Thailand. Naresuan University Science Journal 6(1): 89-100. (in Thai)

Taywiya. P., W. Bundithya and N. Potapohn. 2008. Analysis of genetic relationship of genus Phalaenopsis by RAPD technique. Acta Horticulturae 788: 39-46.

Thanananta. T., T. Meesangiem and N. Thanananta. 2017. Genetic relationship assessment and identification of Paphiopedilum subgenus Brachypetalum section Brachypetalum Using SCoT markers. Thai Journal of Science and Technology 6(2): 161-170. (in Thai)