การบูรณาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าไม้: กรณีศึกษาลุ่มน้ำยาง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
พื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลดลงและมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่น มีการศึกษาวิจัยจำนวนน้อยที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดเล็ก บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศร่วมกับกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนในลุ่มน้ำยาง จังหวัดน่าน ดำเนินการในช่วงเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2559 - 2562) โดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2559 และสร้างความตระหนักรู้รวมถึงร่วมออกแบบทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับ 17 ครัวเรือนนำร่อง กับ 2 อาชีพทางเลือก ได้แก่ (1) การพัฒนาพื้นที่แปลงปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยไม้เศรษฐกิจผสมผสานตามหลักวนเกษตร และ (2) การพัฒนาพื้นที่เกษตรใกล้บ้านด้วยการผลิตพืชผักปลอดสารพิษและการเลี้ยงปลา ชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ถูกวิเคราะห์เพื่อติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในลุ่มน้ำ พบว่า ปี พ.ศ. 2562 พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จำนวน 2,047.1 ไร่ (จาก 14,922.7 ไร่ เป็น 16,969.9 ไร่) โดยชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีสัดส่วนลดลง ประกอบด้วย พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (A202) และพื้นที่นาข้าว (A101) ลดลงร้อยละ 43.7 และ 6.3 ตามลำดับ ชนิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย พื้นที่ป่าไม้ (F) พื้นที่ไม้ยืนต้นผสมหรือไม้ผลผสม (A301 / A401) พื้นที่ไร่ร้าง (A200) พื้นที่แหล่งน้ำ (W) และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3, 11.9, 5.1, 1.6 และ 0.1 ตามลำดับ งานวิจัยนี้สามารถเป็นต้นแบบในการสร้างอาชีพทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและประยุกต์ใช้กับลุ่มน้ำขนาดเล็กอื่น ๆ ได้ต่อไป
Article Details
References
Bank of Thailand. 2019. Agricultural production index and agricultural price index of the northern region. (Online). Available: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=491&language=th (April 4, 2021). (in Thai)
Center for Conflict Studies and Cultural Diversity. 2019. Survey research concept. (Online). Available: https://cscd.psu.ac.th/en/node/208 (March 25, 2021). (in Thai)
Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization) 2009. Space Technology and Geo-Informatics. Amarin Printing and Publishing PCL, Bangkok. 356 p. (in Thai)
Land Development Department. 2009. Land use classification. Office of Soil Survey and Land Use Planning. Land Development Department, Bangkok. 6 p. (in Thai)
Namburi, S. 2019. Participation theory in public administration. The Journal of Research and Academics 2(1): 183-197. (in Thai)
Rakpanan. 2019. Forest pocket book. (Online). Available: https://www.rakpanan.org/Pocketbook/Pages/AmphurDetail.aspx?e1=11 (March 25, 2021). (in Thai)
Ratchathawan, R., T. Kaewkrajok, W. Jongkatekit, P. Phromkaew, D. Sumdangsan and D. Thonglert. 2018. The community participation process in well-being development. Journal of Southern Technology (11)1: 231-238. (in Thai)
Royal Forest Department. 2018. Project of the forest data and area situation, 2016 - 2017. Forest Land Management Office, Bangkok. 306 p. (in Thai)
Royal Forest Department. 2019. Forest land assessment by province. Center of Information Technology and Communication Royal Forest Department. (Online). Available: http://forestinfo.forest.go.th/Content. aspx?id=9 (May 15, 2021). (in Thai)
Trisurat, Y., H. Shirakawa and J.M. Johnston. 2019. Land-use and land-cover change from socio-economic drivers and their impacts on biodiversity in Nan province, Thailand. Sustainability 11(3): 649, doi: 10.3390/su11030649.