วงจรชีวิตของ <I>Meloidogyne incognita</I> ในพริกพันธุ์ต้านทานและพันธุ์อ่อนแอ

Main Article Content

วราลักษณิ์ สุปิณะ
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด
วราภรณ์ ประกอบ

บทคัดย่อ

จากการศึกษาวงจรชีวิตของไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita ในพริกพันธุ์ต้านทานคือพันธุ์ POP เปรียบเทียบกับในพริกพันธุ์อ่อนแอคือพันธุ์หัวเรือ โดยตรวจวิเคราะห์ระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญจากตัวอ่อนระยะที่ 2 รุ่นที่หนึ่งไปเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 อีกรุ่นหนึ่ง ผลการทดลองพบว่า ตัวอ่อนระยะที่ 2 เริ่มเข้าทำลายบริเวณหมวกรากพริกพันธุ์ POP และพริกพันธุ์หัวเรือ หลังจากการปลูกเชื้อไส้เดือนฝอย 4.67 วัน และ 19.33 ชั่วโมง ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า การเจริญจากตัวอ่อนระยะที่ 2 รุ่นแรกไปเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 อีกรุ่นหนึ่งในพริกพันธุ์ POP ใช้เวลาทั้งหมด 42.33 วัน ในพันธุ์หัวเรือใช้เวลาเพียง 26.66 วัน โดยมีค่าเฉลี่ยจำนวนไส้เดือนฝอยที่เข้ารากพริกพันธุ์ POP ทั้งหมด 31.67 ตัว และพันธุ์หัวเรือ 102 ตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และ วราภรณ์ ประกอบ. 2551. เทคนิคการคัดเลือกและประเมินพันธุ์พริกต้านทานไส้เดือนฝอยรากปม. วารสารอารักขาพืช 2: 31-40.
สืบศักดิ์ สนธิรัตน์. 2541. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช: โรคและการจัดการ. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ.
Bleve-Zacheo, T., Bongiovanni, M. Melillo, M.T. and Castagnone-Sereno, P. 1998. The pepper resistance genes Me1 and Me3 induce differential penetration rates and temporal sequences of root cell ultrastructural changes upon nematode infection. Plant Science 133: 79–90.
Burrows P. R. and D. de Waele, 1997. Engineering resistance against plant parasitic nematodes using anti-nematode genes. Pp 217-236. In: Fenoll, C, Grundler, F.M.W, Ohl, S.A, (eds.). Cellular and Molecular Aspects of Plant-nematode Interactions. Dordrecht, the Netherlands: Kluwer Academic Press.
Burrows, P. R.,A. D. P, Barker, Newell C. A. and Hamilton, W. D. O. 1998. Plant-derived enzyme inhibitors and lectins for resistance against plant-parasitic nematodes in transgenic crops. Pesticide Science 52: 176–183.
McBryde, M.C. 1936. A method of demonstrating rust hyphae and haustoria in unsectioned leaf tissue. Am. J. Bot. 23: 686–689.
Milligan, S. B.,J. Bodeau, J. Yaghoobi,I. Kaloshian, P. Zabel, and V.M. Williamson, 1998. The root -knot nematode resistance gene Mi from tomato is a member of the leucine zipper, nucleotide binding, leucine-rich repeat family of plant genes. The Plant Cell 10: 1307–1319.
Pegard, A., Brizzard, G., Fazari. A., Soucaze, O., Abad, P. and Djian-Caporalino, C. 2005. Histological characterization of resistance to different root-knot nematode species related to phenolics accumulation in Capsicum annuum. Phytopathology 95: 158–165.
Richard, L. F. and Judy, A. T. 2007. TigerPaw-NR, a root-knot nematode-resistance, Habanero-type Pepper. Hortscience 42:1721-1722.
Ripoll, C., Favery, B., Lecomte, P., Van Damme, E., Peumans, W., Abad, P. and Jouanin, L. 2003. Evaluation of the ability of lectin from snowdrop (Galanthus nivalis) to protect plants against root-knot nematodes. Plant Science 164: 517–523.