การโคลนบางส่วนและการแสดงออกของยีน myo-inositol 1-phosphate synthase(MIPS) ในอ้อยพันธุ์ป่าและอ้อยปลูกภายใต้สภาพเลียนแบบดินเค็มโซดิก

Main Article Content

ชนากานต์ ลักษณะ
สนธิชัย จันทร์เปรม

บทคัดย่อ

ดินเค็มโซดิกเป็นดินที่มีความเข้มข้นของเกลือและด่างที่มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช ทำให้เกิดผลกระทบต่อ
การเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอ้อยซึ่งตามธรรมชาติจัดว่าเป็นพืชที่ไม่ทนเค็ม เมื่อปลูกอ้อยในพื้นที่ที่เป็นดินเค็มโซดิก
อ้อยย่อมมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ โดยจะมีการแสดงออกของยีนหลายชนิด ยีน myo-inositol
1-phosphate synthase (MIPS) เป็นยีนอีกชนิดที่จะมีการแสดงออกเมื่อพืชเจริญเติบโตในดินเค็มโซดิก โดยงานทดลอง
นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโคลนบางส่วนของยีน MIPS การจำแนกยีนเบื้องต้น และตรวจสอบระดับการแสดงออกของยีนดังกล่าว
ในอ้อยพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูก (KPS 94-13) ที่ได้รับสภาพเลียนแบบดินเค็มโซดิก โดยปลูกต้นอ้อยทั้งสองชนิดในสารละลาย
1/10 Hoagland ที่เติม NaCl 200 mM และปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลายให้เป็น 8 เป็นเวลา 0 12 24 48
และ 72 ชั่วโมง จากนั้นตรวจสอบการแสดงออกของยีนด้วยเทคนิค real-time PCR พบว่าการแสดงออกของยีน MIPS
ในรากอ้อยพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูกมีการแสดงออกของยีนสูงสุดที่ 24 และ 48 ชั่วโมง หลังได้รับสภาพเครียด ตามลำดับ
ส่วนในใบของอ้อยพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูกมีการแสดงออกของยีน MIPS สูงสุดที่ 72 ชั่วโมง และพบว่าในรากมีการแสดงออก
ของยีนสูงกว่าในใบ และเมื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของยีนที่รากและที่ใบระหว่างอ้อยทั้ง 2 ชนิด พบว่า อ้อยพันธุ์ป่า
มีการแสดงออกของยีนนี้สูงกว่าอ้อยปลูกในทุกช่วงเวลาที่ได้รับสภาพเครียดเลียนแบบดินเค็มโซดิก

Article Details

บท
บทความวิจัย