ผลของสารฟอกฆ่าเชื้อและสารควบคุมการเจริญเติบโตในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พรรณไม้น้ำบูเซป Bucephalandra sp.

Main Article Content

นงนุช เลาหะวิสุทธิ์
อัจฉรี เรืองเดช
สมเกียรติ สีสนอง
สมชาย หวังวิบูลย์กิจ

บทคัดย่อ

พรรณไม้น้ำบูเซป (Bucephalandra spp.) เป็นพรรณไม้น้ำสวยงามชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบในเกาะเบอร์เนียว
มีลักษณะเด่น คือ มีจุดสว่างหรือที่เรียกว่ามุกบนใบ จากลักษณะเด่นดังกล่าวจึงทำให้ราคาขายต่อต้นของพรรณไม้
น้ำชนิดนี้สูงมาก แต่พรรณไม้น้ำชนิดนี้มีข้อจำกัดคือขยายพันธุ์ได้ช้าและยังต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เทคโนโลยี
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงถูกนำมาใช้ในการขยายพันธุ์ การศึกษาชนิดและปริมาณสารฟอกฆ่าเชื้อที่เหมาะสมต่อการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำบูเซป พบว่าการฟอกกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวภายนอกของชิ้นเนื้อเยื่อต้นบูเซปที่เหมาะ
สม ได้แก่ การฟอกฆ่าเชื้อครั้งที่ 1 โดยใช้โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NaOCl) 10 % 20 นาที และฟอกฆ่าเชื้อครั้งที่ 2 ใช้
เมอคิวริกคลอไรด์ (HgCl2) 0.1 % นาน 10 นาที เลี้ยงนาน 4 สัปดาห์ พบว่าอัตราการรอดสูงถึง 90 % และไม่พบการ
ปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา จากนั้นนำชิ้นส่วนที่ปลอดเชื้อมาเพิ่มปริมาณโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดย
ศึกษาผลของ adenine sulfate (Ads) ที่ความเข้มข้น 0, 25, 50 และ 75 mg/L ร่วมกับ 6-benzylaminopurine (BAP)
ที่ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0 และ 1.5 mg/L ต่อการพัฒนาเนื้อเยื่อตายอดของต้นบูเซป เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบ
ว่าอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่เติม BAP 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพียงอย่างเดียว สามารถชักนำให้เกิดต้นอ่อน จำนวน
2.45±0.15 ต้น/ชิ้นเนื้อเยื่อ และจำนวนใบใหม่ 15.25±0.92 ใบ มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) จากนั้นนำมา
ศึกษาความเข้มข้นของ NAA ที่ 0, 0.1, 0.3, 0.5 และ 0.7 mg/L ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อการชักนำให้เกิดราก
และเพิ่มขนาดของต้นบูเซป เป็นระยะ 8 สัปดาห์ พบว่าอาหารสูตร MS ที่ไม่เติม NAA สามารถชักนำให้ต้นบูเซปเกิด
จำนวนรากมากได้มากที่สุด จำนวน 8.45±0.67 ราก และมีการเจริญเติบโตดีที่สุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05)
กับชุดการทดลองอื่นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย