ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยต่อการควบคุมโรคราดำที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Aspergillus nigerของเห็ดนางฟ้าภูฐาน (Pleurotus pulmonarius)

Main Article Content

วัชรวิทย์ รัศมี
ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์
ศรัณยา เพ่งผล เพ่งผล
วาริน อินทนา

บทคัดย่อ

เชื้อรา Aspergillus niger เป็นสาเหตุของโรคราดำที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตเห็ดนางฟ้า (Pleurotus pulmonarius) และสามารถสร้างสารก่อมะเร็งอะฟลาทอกซิน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยในการควบคุมโรคราดำของเห็ดนางฟ้าภูฐาน ผลการทดลองพบว่า น้ำมันหอมระเหยสะระแหน่ กานพลู อบเชย และมะนาว ความเข้มข้น 5.0 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพสูงต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา A. niger ที่ 89.18, 87.12, 85.64 และ 82.52 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม การทดสอบผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐาน พบว่าน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่และอบเชย ความเข้มข้น 5.0 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งสารกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม (50% WP) ความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ (2.0 กรัม/ลิตร ตามคำแนะนำบนฉลาก) มีผลกระทบต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ
เห็ดนางฟ้าภูฐานสูงที่ 32.14, 29.51 และ 27.78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนน้ำมันหอมระเหยกานพลู มะนาว และกระเทียม
มีผลกระทบต่ำที่ 17.56, 14.30 และ 11.14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองในระยะบ่มก้อนเชื้อและเปิดดอกเห็ดนางฟ้าภูฐาน พบว่าน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่ กานพลู อบเชย และมะนาว ความเข้มข้น 5.0 เปอร์เซ็นต์ มีประสิทธิภาพในการควบคุม
โรคราดำ A. niger สูงกว่าการใช้สารคาร์เบนดาซิม ความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ การตรวจวัดผลผลิตเห็ดในช่วง 30 วัน พบว่าน้ำมันหอมระเหยมะนาวและกานพลูให้ผลผลิตเห็ดเท่ากับ 155.11 และ 150.96 กรัม/ถุง ซึ่งสูงกว่าการใช้สารคาร์เบนดาซิม (140.25 กรัมต่อถุง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P£0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรงค์ศักดิ์ พุมนวน, กนิษฐา บุญนาค, ธนภรณ์ ดวงนภา, พรหมมาศ คูหากาญจน์ และอำมร อินทร์สังข์. 2557. ผลของน้ำมันหอมระเหยจาก

ตะไคร้หอม กานพลู และโหระพาต่อการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดฟาง เห็ดหูหนู และเห็ดหอม. แก่นเกษตร 42(3) (พิเศษ): 876-881.

ธัญญ์วาริน ชูวัฒน์วรกูล, พิชญาภรณ์ สุวรรณกูฏ, สมจินตนา ทวีพานิชย์ และสายสมร ลำลอง. 2560. ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราของนํ้ามันหอมระเหยอบเชยต่อเชื้อรา Penicillium citrinum และ Aspergillus flavus ที่แยกได้จากยางแผ่นในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี.

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 36(3): 392-398.

บุญญวดี จิระวุฒิ, เนตรา สมบูรณ์แก้ว, สุพี วนศิรากุล, อัฉราพร ศรีจุดานุ และอมรา ชินภูติ. 2558. การยับยั้งการเจริญของเชื้อรา

Aspergillus flavus และลดปริมาณสารแอฟลาทอกซินโดยสารออกฤทธิ์จากกระเทียม. วารสารวิชาการเกษตร 33(1): 15-28.

ภัสจนันท์ หิรัญ, อรพิน เกิดชูชื่น และณัฎฐา เลาหกุลจิตต์. 2553. การยับยั้งเชื้อรา Aspergillus spp. โดยน้ำมันหอมระเหยกานพลูและอบเชย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(พิเศษ): 21-24.

มหาวิทยาลัยมหิดล. 2561. พืชสมุนไพร. http://www.medplant. mahidol.ac.th/pubhealth/allium.Html (10 เมษายน 2562).

สายสมร ลำลอง และพงษ์นรินทร์ ยอดสิงห์. 2559. การใช้น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่พบบนแผ่นยางพารา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 18(1): 30-38.

Diba, K., Kordbacheh, P., Mirhendi, S. H., Rezaie, S., and Mahmoudi, M. 2007. Identification of Aspergillus 227 species using morphological characteristics. Pakistan Journal of Medical Sciences 23(6): 867-872.

Fadahunsi, I., Ayansina, D., and Okunrotifa, A. 2013. Biocontrol of mushroom spoilage fungi and aflatoxin evaluation during storage. Nature and Science 11(7): 7-13.

Fan, L., Pan, H., Wu, Y., and Kwon, H. 2005. Pest and disease management in Shiitake bag cultivation. Mushroom Growers Handbook 2-Shiitake cultivation. http://www.fungifun.org/mushworld/Shiitake-Mushroom-Cultivation (5 January 2016).

Geösel, A., Szabó, A., Akan, O., and Szarvas, J. 2014. Effect of essential oils on mycopathogens of Agaricus bisporus.

In Proceedings of the 8th International Conference on Mushroom Biology and Mushroom Products (ICMBMP8),

M. Singh, ed. Vol. I & II, pp.530-535. New Delhi: ICAR-Directorate of Mushroom Research.

Metzger, B. 2008. Aspergillus niger Tiegh. In Mushroom Observer. http://mushroomobserver.org/name/show_name/15030?_

js=on&_new=true (16 May 2016).

Regnier, T., and Combrinck, S. 2010. In vitro and in vivo screening of essential oils for the control of wet bubble disease of

Agaricus bisporus. South African Journal of Botany 76: 681-685.

Santa Cruz Biotechnology, Inc. 2010. Carbendazim. Material safety data sheet. http://datasheets.scbt.com/sc-211014.pdf

(4 January 2016).

Santos, T. L., Belan, L. L., Zied, D. C., Dias, E. S., and Alves, E. 2017. Essential oils in the control of dry bubble disease in

white button mushroom. Crop Protection 47(5): 1-7.

Shah, S., Nasreen, S., and Kousar, S. 2013. Efficacy of fungicides against Trichoderma spp. causing green mold disease of

oyster mushroom (Pleurotus sajor-caju). Research Journal of Microbiology 8(1): 13-24.

Soares, C., Calado, T., and Venâncio, A. 2013. Mycotoxin production by Aspergillus niger aggregate strains isolated from

harvested maize in three Portuguese regions. Revista Iberoamericana de Micologia 30(1): 9-13.

Vorapunthu, S., Nuangmek, W., Suwannarach, N., and Pithakpol, W. 2016. Efficiency of fumigation with volatile from clove,

cinnamon and pepper mint essential oil on fungi growth inhibition of water hyacinth handicraft product.

Khon Kaen Agriculture Journal 44(Supplement): 205-211.