การรับรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกร ผู้ปลูกองุ่นรับประทานสด

Main Article Content

ธัญญาลักษณ์ ศรีโชค
เฉลิมพล จตุพร
พัฒนา สุขประเสริฐ
สุวิสา พัฒนเกียรติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นรับประทานสด ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นรับประทานสด ในจังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร นครราชสีมา นครปฐม และสระบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 86 ราย ได้จากการสุ่มแบบง่าย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการกำจัดแบบถอยหลัง ผลการศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 73.30 มีอายุเฉลี่ย 46.82 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าร้อยละ 50.00 เกษตรกรปลูกองุ่นเป็น
อาชีพหลักร้อยละ 81.40 และมีประสบการณ์ปลูกองุ่นเฉลี่ย 10.15 ปี 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ย 34.83 ตันต่อปี มีรายได้จากการปลูกองุ่นเฉลี่ย 1,770,663 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ย 647,383 บาทต่อปี และรายได้สุทธิเฉลี่ย 1,123,280 บาทต่อปี 3) ปัจจัยด้านสังคม พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการปลูกองุ่นร้อยละ 80.23 และร้อยละ 84.88 ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม 4) ปัจจัยการผลิตองุ่น พบว่า เกษตรกรปลูกองุ่นพันธุ์แบล็กโอปอลและองุ่นพันธุ์
ไวท์มะละกา มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 10.31 ไร่ ปลูกบนพื้นที่ดอนร้อยละ 60.47 และร้อยละ 55.81 ปลูกองุ่นแบบไม่มีหลังคาพลาสติกและกางมุ้ง 5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกร ได้แก่ การประกอบอาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่ม รูปแบบการปลูก และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านกายภาพในกิจกรรมการผลิตองุ่น และ 6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกร ได้แก่ การประกอบอาชีพ ประสบการณ์ปลูกองุ่น รายได้สุทธิจากการผลิตองุ่น การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปลูกองุ่น พันธุ์องุ่นรับประทานสด
การรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านกายภาพในกิจกรรมการผลิตองุ่น และความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้ข้อค้นพบแสดงให้เห็นว่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นรับประทานสด คือ เกษตรกรเปลี่ยนรูปแบบการปลูกองุ่นโดยมีหลังคาพลาสติกและกางมุ้ง รวมไปถึงย้ายพื้นที่ปลูก จากการปลูกองุ่นในพื้นที่ลุ่มเป็นพื้นที่ดอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร แสนทวีสุข. 2561. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน. http://www.wing2rtaf.net/department/weather/images/commander/2.4%20.pdf (9 ธันวาคม 2561).
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร. 2561. ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2560-2564). http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/
Climatechange2560-2564(1).pdf (3 ธันวาคม 2561).
แจ่มจันทร์ มีมานะ. 2552. สวนองุ่น. กรุงเทพฯ: ชมรมไม้ผลแห่งประเทศไทย.
นภาพร พันธุ์กมลศิลป์. 2558. คิดเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน ความจริงต้องรู้. เกษตรอภิรมย์ 2 (8): 20-22.
นวลปรางค์ ไชยตะขบ. 2559. การผลิตองุ่นพันธุ์ Perlette ภายใต้หลังคาพลาสติกที่ขนาดความหนาต่างกัน. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์
3 (I): 43-48.
บุณยนุช ศุขโต. 2542. การศึกษาศักยภาพพื้นที่เพื่อใช้ในการปลูกองุ่นทำไวน์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพรรัตน์ พรหมชน. 2561. ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตองุ่นรับประทานสด: การวิเคราะห์เบื้องต้น. วารสารสยามวิชาการ 19 (2): 1-13.
ยุทธ ไกยวรรณ์. 2556. การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. สถานการณ์การปลูกองุ่น ปี 2558. http://www.agriinfo.doae.go.th/year59/plant/rortor/fruit2/grape.pdf (15 พฤษภาคม 2559).
วรางคณา สาธุพันธ์ และสุรินทร์ อ้นพรม. 2559. การรับรู้และยุทธศาสตร์การปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชนบนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาหมู่บ้านปางยาง ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน. ใน รายงานการประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ. 2559
เศรษฐกิจเชิงนิเวศบนฐานการป่าไม้. น. 161-171. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วัฒนา สวรรยาธิปัติ. 2561. การปลูกองุ่น. http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/grape.pdf (3 ธันวาคม 2561).
สมพร คุณวิชิต, ยุพิน รามณีย์ และบัญชา สมบูรณ์สุข. 2558. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับวิถีชีวิตของมนุษย์ : ศึกษาผลกระทบและ
การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร ปี 2559. http://impexp.oae.go.th/service/report_product01.php?S_YEAR=2561&i_type=1&PRODUCT_ID=1273&wf_search=&WF_SEARCH=Y#export (3 ธันวาคม 2561).
สุภาวดี จันทนป. 2560. ประสิทธิภาพทางเทคนิคการผลิตอ้อยของเกษตรกร ตำบลพังทุย อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยวิธี Stochastic Frontier Production Approach. แก่นเกษตร 45 (2): 307-312.
หทัยชนก มากมิ่งจวน. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฟาร์มกุ้งอย่างยั่งยืนของสมาชิกชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
อรรถชัย จินตะเวช. 2560. การผลิตข้าวไทยอย่างแม่นยำภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสังคม: จะร่วมมือวิจัยพัฒนาและนำใช้
ให้เป็นระบบอย่างไร?. แก่นเกษตร 45 (1): 186-196.
Cochran, W. G. 1963. Sampling Technique. 2nd edition. New York: John Wiley and Sons Inc.
Stevens, J. 1992. Applied multivariate statistics for the social science. 2nd edition. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associate.