ฉบับย้อนหลัง - หน้า 2

  • พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
    ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 (2021)

    วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2564 ฉบับนี้ได้บรรจุเนื้อหาสาระอัดแน่นทางวิชาการให้ท่านผู้อ่านได้เลือกอ่านเพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ จำนวน 14 เรื่องด้วยกัน มีความหลากหลายในหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะทางกองบรรณาธิการมีความเชื่อมั่นว่า ในความหลากหลายของเนื้อหาสาระจะยังประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่าน ได้รับความรู้ทางด้านวิชาการในหลากหลายมุมมอง เพื่อจะนำความรู้ที่หลากหลายไปใช้ และ/หรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องเกษตรกรของเราได้ กินดี อยู่ดี   มีสุข

              ผมเขียนบทบรรณาธิการ ฉบับนี้ด้วยความรู้สึกที่ หดหู่ และ เป็นห่วงพี่น้องร่วมชาติ ที่ยังอยู่ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID 19) ที่มีการแพร่กระจายไปทั่วประเทศ มีผู้ติดเชื้อ เกือบสองหมื่นคนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตเกือบ 300 คน ต่อวัน สถานการณ์ดังกล่าวกระทบอย่างรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง พี่ของน้องประชาชนทั่วประเทศ หวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในเร็ววันนี้ เพื่อความสุข ความสงบ จะได้กลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน และขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านแคล้วคลาดจากโรคภัย มีสุขภาพกายและจิตที่เข้มแข็ง สมบูรณ์ ฟันฝ่าเหตุการณ์วิกฤตินี้ไปได้ทุกท่านนะครับ เราจะอดทน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน   ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสและมีความหวังเสมอ เดี๋ยวมันก็ผ่านไปครับ

    ด้วยรักและเคารพ
    รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
    บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • มกราคม-เมษายน 2564
    ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (2021)

                 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพรักทุกท่าน วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 (มกราคม–เมษายน พ.ศ. 2564) ปรากฏออกสู่สายตาทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้สภาวะวิกฤติของสถานการณ์โควิด 19 ที่สร้างความหวั่นกลัวของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทางด้าน เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะระบบสาธารณสุขของประเทศ ขอทุกท่านปลอดภัย มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคร้าย ในครั้งนี้ครับ อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระของงานวิจัยในเล่มนี้ยังคงเข้มข้นไม่แตกต่างไปจากเล่มอื่นๆ ที่ผ่านมา  คณะผู้จัดทำ มุ่งมั่น ทุ่มเท ในการกำกับ ติดตาม การจัดทำวารสารทุกเรื่องในฉบับให้คงไว้ซึ่งมาตรฐานทางวิชาการเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงของงานวิจัยและวิชาการทั้งในระดับประเทศ และ นานาชาติ เพื่อคงไว้ซึ่งมาตรฐานการยอมรับในวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร

              งานวิจัยในฉบับนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 15 เรื่อง มีเนื้อหาสาระที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป สามารถเลือกอ่านได้ตามที่ทุกท่านสนใจ งานวิจัยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 9 เรื่อง เน้นงานวิจัยทางด้านการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรต ต่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเขตรากพืชฯ หรือ งานวิจัยเรื่อง การยับยั้งอนุมูลอิสระและเอ็นไซม์เมทริกซ์เมทัลโลโปรติเนสของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์และผลิตภัณฑ์ลดการอักเสบ เป็นต้น กลุ่มที่ 2 เป็นงานวิจัยทางด้านการส่งเสริมการเกษตร เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม เช่น การพัฒนาสมรรถนะเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ การถ่ายทอดความรู้การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากมูลวัวและวัสดุอินทรีย์ในท้องถิ่นฯ เป็นต้น

              องค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากงานวิจัยในเล่มนี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิจัยทุกท่านได้นำเอาไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนเป็นแนวทางต่อยอด คิดค้นหัวข้อวิจัย เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรยิ่งๆ ขึ้นไปครับ

     

    ด้วยรักและเคารพ
    รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
     บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • กันยายน-ธันวาคม 2563
    ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 (2020)

    วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ที่อยู่ในมือท่านผู้อ่านขณะนี้ เป็นฉบับ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2563  ฉบับสุดท้ายของปี อาจกล่าวได้ว่า ปีนี้นับเป็นปีที่หนักหนาสาหัสเอาการสำหรับประเทศไทยของเรา ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ต้องเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดไวรัสโควิด-19 เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เพื่อให้ เศรษฐกิจ สังคม เดินต่อไปได้ ช่วงกลางปี ก็ต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคม เกิดกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ มากมาย สร้างความหวั่นวิตกให้คนทั้งประเทศว่าประเทศเราจะก้าวไปอย่างไรภายใต้สภาวะวิกฤติที่ส่งผลกระทบทั่วโลก เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ก่อนจะผ่านพ้นปี พ.ศ. 2563 ไม่ถึง 1 เดือน ไวรัสโควิด-19 กลับมาตามหลอกหลอนคนไทยทั้งประเทศอีกครั้ง จากสถานการณ์ 1G1 ของประเทศเพื่อนบ้าน และสถานการณ์จากตลาดกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอุทาหรณ์ให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงความไม่ประมาทในการใช้ชีวิตว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ

              เมื่อชีวิตต้องเดินต่อไป จึงฝากไปยังท่านนักวิจัยที่เคารพรักทุกท่าน ช่วยกันสร้างสรรค์งานวิจัยต่างๆ    เพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรของประเทศ ให้เข้าถึงองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อทำให้ พี่น้องเกษตรกรได้ลืมตา อ้าปาก ต่อสู้กับสภาวะวิกฤติ และผมยังเชื่อมั่นเสมอมาว่า ประเทศเรายังมีทรัพยากรเพียงพอต่อการดำรงชีพของคนทั้งประเทศ ถ้าเราใช้อย่างประหยัด คุ้มค่า และเคารพในธรรมชาติที่มอบให้กับ พวกเราทุกคน

              เนื้อหาสาระของงานวิจัยที่นักวิจัยได้กรุณาส่งมายังเอกสารวิจัยฯ ฉบับนี้ มีทั้งสิ้น 12 เรื่อง หลากหลายประเด็นที่น่าสนใจ กระผมขออนุญาตให้ทุกท่านได้เลือกอ่านตามอัธยาศัย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่าน จะสรรหาเรื่องดีๆ มีประโยชน์มาตีพิมพ์ในฉบับต่อไปนะครับ

              ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2564 ที่จะมาถึงนี้ กระผมและทีมงานวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร กราบขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก จงได้โปรดดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบแด่ความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และร่ำรวยๆ ครับ

    ด้วยรักและเคารพ
    รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
    บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
    ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (2020)

    วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม–สิงหาคม 2563ออกมาพบท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านด้วยภายใต้สถานการณ์เฝ้าระวังโรคไวรัส โควิด-19 หลายฝ่ายออกมาเตือนถึงมาตรการป้องกันโรคด้วยคำที่พวกเราคุ้นเคยกันว่า “การ์ดอย่าตก” ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรุนแรง ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงอย่างไร ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากเราพิจารณาถึงทางรอดภายใต้สภาวะวิกฤติของโลกปัจจุบัน การเกษตรคือคำตอบสุดท้ายของความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ

                       วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือสื่อทางวิชาการที่ส่งมอบความรู้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมทางสังคมในหลากหลายมิติเพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้เพื่อความอยู่รอดในสภาวะวิกฤติดังกล่าว

                       เนื้อหาสาระทางวิชาการในเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจเพื่อต่อยอดในการพัฒนา หรือนำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหา จึงขอเชิญผู้สนใจเลือกอ่านได้ตามอัธยาศัย

                       แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

          รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

                         บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • มกราคม-เมษายน 2563
    ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (2020)

                  วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน 2563 ฉบับนี้ต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไปยังอนุชนรุ่นหลังว่า เป็นช่วงเวลาที่มวลมนุษย์ชาติได้รับผลกระทบจากไวรัสที่เรียกว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory
    Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) หรือชื่อเดิมที่องค์การอนามัยโลกเคยใช้คือ โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) และเป็นที่รู้จักกันในชื่อที่ไม่เป็นทางการในช่วงเริ่มต้นของการระบาดของโรคจากไวรัสนี้ว่า "โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น" หรือ "ไวรัสปอดอักเสบอู่ฮั่น” เป็นไวรัสติดต่อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ทีวีความรุนแรง แพร่กระจายไปมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติเมื่อใด นับเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนก และน่าหวาดกลัว ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ และด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงไปทั่วโลก

                   การวางแผนรับมือกับปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาคการเกษตรจะทวีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังวลีอมตะ “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” (หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร 11 เมษายน พ.ศ. 2426 ถึง 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514) จึงขอเชิญชวนนักวิจัยทุกท่านร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัส COVID 19 ผ่านกระบวนการวิจัยในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของชาวบ้านให้มีอยู่ มีกิน เพื่อการมีชีวิตรอดภายใต้สภาวะวิกฤติครั้งนี้

                  วารสารวิจัยฯ ฉบับนี้ มีบทความวิจัยที่น่าสนใจให้ท่านได้เลือกอ่าน 12 บทความ มีบทความ       ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาในเบื้องต้น เช่น ความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบทความครอบคลุมมิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เชิญทุกท่านเลือกอ่านงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามอัธยาศัย แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

                                                                                   ด้วยรักและเคารพ

                                                                    รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

                                                                              บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • กันยายน - ธันวาคม 2562
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (2019)

    วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน–ธันวาคม 2562 ที่อยู่ในมือทุกท่านฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของปี พุทธศักราช 2562 หนึ่งปีที่ผ่านมา กาลเวลาเดินทางผ่านไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของคนในทุกระดับแม้กระทั่งตัวเกษตรกรเอง เกษตรกรหลายท่านเริ่มคุ้นชินและไม่รู้สึกกลัวกับคำว่า Smart Farm ทำให้พวกเรานักวิจัยทั้งหลายคงต้องค้นคว้า คิดค้น ประดิษฐ์ รวมถึงปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคที่เรียกว่า Disruptive technology

                        บทความวิจัยในฉบับนี้ ยังคงความหลากหลายให้เลือกอ่านได้ตามที่ท่านสนใจและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านคงจะส่งผลงานดีที่เป็นประโยชน์ในแวดวงวิชาการมายังวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรของเรา อย่างดีเช่นเคยครับ

                       กองบรรณาธิการวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ใคร่ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงโปรดดลบันดาลให้นักวิจัยทุกท่านตลอดถึงครอบครัว บุคคลที่ท่านรักและเคารพ จงประสบแด่ ความสุข ความเจริญ มีสุขภาพกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่เข้มแข็ง เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2563 นี้ครับ

    รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

                บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม–สิงหาคม 2562 ฉบับนี้ยังคงสาระเรื่องงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้โดยตรงต่อเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร      อาทิเช่น การคัดเลือกวัชพืชเพื่อใช้ในการฟื้นฟูที่ปนเปื้อนสารฟลูออแรนทีน ผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับ      รำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิตเนื้อไก่พื้นเมือง การทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับและแนวทางการอนุรักษ์แมลงทับ การผลิตกาแฟอราบิก้าของชุมชนบ้านผาหมี จังหวัดเชียงราย เป็นต้น นอกจากนี้ในเล่มยังมีงานวิจัยที่หลากหลาย น่าสนใจ สำหรับนักวิจัยที่จะนำไปใช้เพื่องานวิจัย  ต่อยอด หรือนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป  เชิญทุกท่านเลือกอ่านงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามอัธยาศัย แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ     รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

    พฤษภาคม - สิงหาคม 2562
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 (2019)

    วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม–สิงหาคม 2562 ฉบับนี้ยังคงสาระเรื่องงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้โดยตรงต่อเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร      อาทิเช่น การคัดเลือกวัชพืชเพื่อใช้ในการฟื้นฟูที่ปนเปื้อนสารฟลูออแรนทีน ผลของการใช้ฟักทองหมักร่วมกับ      รำข้าวในอาหารต่อประสิทธิภาพการผลิตเนื้อไก่พื้นเมือง การทำเครื่องประดับจากปีกแมลงทับและแนวทางการอนุรักษ์แมลงทับ การผลิตกาแฟอราบิก้าของชุมชนบ้านผาหมี จังหวัดเชียงราย เป็นต้น นอกจากนี้ในเล่มยังมีงานวิจัยที่หลากหลาย น่าสนใจ สำหรับนักวิจัยที่จะนำไปใช้เพื่องานวิจัย  ต่อยอด หรือนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป  เชิญทุกท่านเลือกอ่านงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามอัธยาศัย แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

       รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

                    บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • research extension

    มกราคม - เมษายน 2562
    ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (2019)

    วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม–เมษายน 2562 เล่มนี้มาพบทุกท่านพร้อมกับความร้อนแล้งและปัญหาหมอกควันที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (ระบบทางเดินหายใจ) เศรษฐกิจ (จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง) และสังคม (ภาครัฐและเอกชนตระหนักรู้ถึงปัญหาและร่วมมือกันหาทางป้องกันและแก้ไข) อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากจะมองว่าปัญหาดังกล่าวคือวิกฤติ แต่ก็คือโอกาสในการมองหาช่องทางแก้ปัญหาร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ขึ้นในอนาคตของทุกคน
    ในฐานะนักวิจัยที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาและชี้นำสังคม พวกเราควรช่วยกันหาวิธีการป้องกันแก้ไข ฟื้นฟู สร้างจิตสำนึก ผ่านกระบวนการวิจัยและเผยแพร่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทางวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรยินดีรับบทความจากทุกท่านเพื่อตีพิมพ์ในฉบับต่อๆ ไปครับ
    วารสารวิจัยฯ ฉบับนี้ อัดแน่นไปด้วยเนื้อหา สาระ ให้นักวิจัยได้เลือกอ่านมากถึง 12 บทความ จำแนกเป็น 7 เรื่อง เป็นงานที่เกี่ยวข้องด้านสังคม เศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น การยอมรับการปลูกพืชภายใต้ GAP การวางแผนการผลิตกล้วยหอมทอง ความคาดหวังของเกษตรกรต่อโครงการปลูกปาล์มน้ำมัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานของสหกรณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำการเกษตรในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น อีกจำนวน 5 เรื่อง เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของขนาดไข่ต่อคุณภาพไข่ ระบบการผลิตไก่เบตงเชิงพาณิชย์ การอนุบาลลูกกบนาด้วยอาหารสำเร็จรูป รูปแบบที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาหลดด้วยอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
    เชิญทุกท่านเลือกอ่านงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามอัธยาศัย แล้วพบกันใหม่ ฉบับหน้าครับ

                                           รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
                                                             บรรณาธิการวารสาร

  • กันยายน - ธันวาคม 2561
    ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 (2018)

    วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน–ธันวาคม พ.ศ. 2561 ได้เดินทางมาถึงฉบับสุดท้ายของปีพุทธศักราช 2561 หนึ่งปีที่ผ่านมาเราได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจนยากจะคาดคะเนได้ จนส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิต ผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงภัยพิบัติต่างๆ ในเกือบจะทุกภูมิภาคของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การพยายามเรียนรู้ ปรับตัว ให้สอดคล้องเหมาะสมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้
    บทความวิจัยในฉบับนี้ ยังคงความหลากหลายให้เลือกอ่านได้ตามที่สนใจ ทั้งที่เป็นลักษณะของงานวิจัยในรูปแบบการทดลอง อาทิเช่น ผลการเสริมบีเทนในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถนะการผลิต คุณภาพไข่ ระดับ คลอเรสเตอรอลและกรดไขมันในไข่แดง การเปรียบเทียบระยะเวลาการสอด CDIR เพื่อเหนี่ยวนำการเป็นสัดของโคในจังหวัดพะเยา การประยุกต์ใช้หลอด LED ต่อการผลิตหัวเชื้อแพลงก์ตอนพืชภายในห้องปฏิบัติการ สมบัติดินบางประการและการเข้าสู่รากของเชื้อราอาร์บัสคูราไมคอร์ไรซาในแปลงปลูกกาแฟอาราบิก้า เป็นต้น
    นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือกระบวนการผลิตที่น่าสนใจ ได้แก่ การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ราคาลำไย การยอมรับการผลิตข้าวโพดตามแนวทาง GAP ของเกษตรกร ประสิทธิภาพการผลิตข้าวระหว่างนาดำและนาหว่าน รวมถึงแนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
    เนื่องในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2562 กองบรรณาธิการวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ใคร่ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงโปรดดลบันดาลให้นักวิจัยทุกท่าน ตลอดจนถึงครอบครัว บุคคลที่ท่านรักและเคารพ จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ มีสุขภาพกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมและประเทศชาติของเราต่อไปครับ
    ลาทีปีเก่า สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. 2562 ครับ

                                                                      ด้วยรักและเคารพ
                                                  รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
                                                                  บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

  • พฤษภาคม - สิงหาคม 2561
    ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (2018)

    สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและเคารพ วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรฉบับนี้ เป็นปีที่ 35 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2561) เนื้อหาสาระยังคงเข้มข้น ครอบคลุมในหลากหลายมิติด้านการวิจัย ทั้งด้านพืช ได้แก่ ผลของการกระแทกต่อรอยช้ำบนผลพลับพันธุ์ซิชู และสมรรถนะการรวมตัวของผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในงาลูกผสม ด้านสัตว์ ได้แก่ งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรสแบบมัลติเพล็กซ์ฯ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ตรวจหายีนบางตัวในเลือดสุนัขที่รวดเร็วขึ้นซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาในการตรวจพบเชื้อโรคในสุนัข
    ปัจจุบันแนวโน้มของการผลิตตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เข้ามามีบทบาทสูงขึ้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในเล่มนี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ได้แก่ งานวิจัยเรื่องความรู้ การปฏิบัติ และช่องทางการตลาดผักตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และปัจจัยที่มีผลในการใช้ระบบสารสารเทศของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยงานวิจัยทั้ง 2 เรื่อง ศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรดินและน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ งานวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์ที่ดินและความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูกในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ ความคาดหวังและความพึงพอใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน ในจังหวัดสุโขทัย เป็นต้น
    หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับสาระความรู้จากงานวิจัยที่หลากหลายในฉบับนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านคงจะร่วมแบ่งปันความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรต่อไปครับ

    ด้วยรักและเคารพ

                                       รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
                                                    บรรณาธิการวารสารวิจัยฯ

11-20 of 23